การออกรถเพื่อปฎิบัติงานปั๊มคอนกรีต

5260

ซึ่งโดยปกติ จะมีการตรวจเช็คความพร้อมของรถก่อนปฎิบัติงาน
โดยมาถึงขั้นตอนที่จะต้องขับรถออกปฎิบัติงาน
ตรวจเช็คก่อนสตาร์ตเครื่องยนต์


ควรเริ่มต้นจาก บิดสวิตช์กุญแจไปในตำแหน่ง ON เพื่อตรวจเช็คสัญญาณไฟเตือนต่างๆ บนหน้าปัด



อันดับแรกควรสังเกตุ ระดับน้ำมันเชื้อเพลิง ว่าเพียงพอต่อการใช้งานหรือไม่ 

ตรวจเช็คสัญญาณไฟเตือนต่างๆที่แสดงบนหน้าปัด




  สัญญาณไฟเตือนตรวจสอบเครื่องยนต์

ไฟเตือนนี้จะติดขึ้นมาเมื่อสวิตช์กุญแจบิดไปที่ ตำแหน่ง ON และจะดับ 
หลังจากผ่านไปประมาณ 5 วินาที หรือหลังจากเครื่องยนต์ทำงาน
ถ้าไฟเตือนนี้ติดขึ้นมา ในขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน แสดงว่าเตือน
ให้ทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับระบบควบคุมเครื่องยนต์    
  สัญญาไฟเตือนช่วงเกียร์ต่ำ

สัญญาไฟเตือนนี้จะติดขึ้นเมื่อคันเกียร์อยู่ในช่วงเกียร์ต่ำ เพราะโดยปกติ
ควรออกรถด้วยเกียร์ 1 ทุกครั้ง คับเกียร์จึงควรอยู่ในช่วงเกียร์ต่ำ
  สัญญาณไฟเตือนเบรกมือ

สัญญาณไฟเตือนนี้จะติดขึ้นเมื่อดึงเบรกมือ 
ในความปลอดภัยทุกครั้งก่อนทำการสตาร์ตเครื่องยนต์ ควรดึงเบรกมือขึ้น
  สัญญาณไฟเตือนไฟชาร์จ

ไฟเตือนนี้จะติดขึ้นมาเมื่อสวิตช์กุญแจบิดไปที่ ตำแหน่ง ON และจะดับ
หลังจากเครื่องยนต์ทำงาน
ไฟเตือนนี้จะติดขึ้นมาเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับระบบไฟชาร์จ 
  สัญญาณไฟเตือนความดันน้ำมันเครื่อง

ไฟเตือนนี้จะติดขึ้นมาเมื่อสวิตช์กุญแจบิดไปที่ ตำแหน่ง ON และจะดับ
หลังจากเครื่องยนต์ทำงาน
ในขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน ไฟเตือนนี้ติดขึ้นมาถ้าความดันน้ำมันเครื่อง
ที่หล่อลื่นส่วนประกอบเครื่องยนต์นั้นผิดปกติด (ควรตรวจเช็คน้ำมันเครื่อง)
  สัญญาณไฟเตือนลมเสริมต่ำ (ถ้ามี)

ไฟเตือนนี้ติดขึ้นและมีเสียงเตือน เมื่อความดันในท่อเสริมลดต่ำกว่าระดับ
ขีดต่ำสุด ถ้าไฟเตือนนี้ติดขึ้นในขณะขับรถ ให้รีบจอดรถในที่ปลอดภัย
ตรวจสอบท่อเสริมอาจจะเกิดการรั่วของระบบลม ถ้าไม่พบทดสอบเดินเครื่อง
ในรอบเดินเบาเพื่อเพิ่มแรงดันลม ถ้าลมขึ้นช้าผิดปกติ ให้รีบแจ้งหัวหน้างาน
  สัญญาณไฟเตือนเข็มขัดนิรภัย

ไฟเตือนนี้จะติดขึ้นมาเมื่อคนขับไม่ได้สวมเข็มขัดนิรภัย ในขณะที่สวิตช์กุญแจ
อยู่ในตำแหน่ง ON


เมื่อสัญญาณไฟต่างๆทำงานเป็นปกติ

         

ก่อนจะทำการสตาร์ตเครื่องยนต์ ควรปิดอุปกรณ์เสริมต่างๆที่ใช้กระแสไฟฟ้า เช่น พัดลม วิทยุ เพื่อป้องกันการเสื่อมของแบตเตอรี่ 

และทำแบตเตอรี่ให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น

และจะต้องแน่ใจว่า เบรกมือดึงขึ้นจนสุด คันเกียร์ อยู่ในตำแหน่ง เกียร์ว่าง หรือ N และเหยียบคลัตช์ให้สุด

เริ่มทำการสตาร์ตเครื่องยนต์

   

โดยบิดสวิตช์กุญแจ ไปในตำแหน่ง START เพื่อติดเครื่องยนต์ จากนั้นค่อยล่ะเท้าออกจากแป้นเหยียบคลัตช์

  สังเกตุเกจวัดความดันลม และ ไฟเตือนความดันลม 
ถ้าสัญญาณไฟเตือนความดันลม ยังไม่ดับลงไม่ควรที่ 
จะออกรถ เพราะระบบเบรก และ คลัตช์อาจจะยังใช้ 
ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

ถ้าหากต้องการเร่งเครื่องยนต์ เพื่อเพิ่มแรงดันลม



ควรเร่งเครื่องยนต์ให้อยู่ใน พื้นที่สีเขียว : แสดงถึงช่วงกับการขับประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง
พื้นที่สีแดง : แสดงถึงรอบเครื่องยนต์ที่อันตรายที่เกินกว่าระดับที่ได้รับอนุญาต





เมื่อถึงแรงดันลมที่กำหนด สัญญาณไฟเตือนความดันลม จะดับลง ควรเร่งเครื่องยนต์ต่อไปเลื่อยๆ
จนมีลมโบว์ออกมา จากไดร์เออร์ หรือ อุปกรณ์ดักจับความชื้น เพื่อทดสอบระบบลมว่ามีการตัด ตามปกติ และจะช่วยให้มั่นใจ
ว่าระบบลม สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

ก่อนที่จะออกรถเพื่อปฎิบัติงาน

อย่าลืมดึงมือเบรกมือลง

และควรคาดเข็มขัดนิรภัยด้วยนะครับ