Concrete Placing Boom ตอนที่ 2

23/06/2020 | 10705

Concrete Placing Boom ตอนที่ 2

1.

    จากบทความเดิมตอนที่แล้วที่ผู้เขียนได้กล่าวค้างไว้ถึงตัวเพลสซิ่งบูม (Placing Boom) ที่นี้เราจะมาทำความรู้จัดกับเจ้าเพลสซิ่งบูม Placing Boom  ให้มากขึ้นนะครับ เพลสซิ่งบูม เป็นเครื่องจักรที่ใช้ลำเลียงคอนกรีตผสมเสร็จด้วยการใช้แขนกลส่งไปยังจุดที่ต้องการเทคอนกรีตโดยใช้ปั๊มลากเป็นตัวผลักดันคอนกรีตจากด้านล่างผ่านท่อส่งคอนกรีตที่ต่อเข้ากับท่อส่งคอนกรีตที่ติดอยู่กับตัวเพลสซิ่งบูม พูดง่าย ๆ คือเป็นบูมสำหรับโรยคอนกรีตบนอาคารนั่นเองครับ การติดตั้งเพลสซิ่งบูมมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ

2

1.การติดตั้งเพลสซิ่งบูมภายในตัวอาคาร

3

2.การติดตั้งเพลสซิ่งบูมภายนอกตัวอาคาร

    โดยเรามาดูการติดตั้งเพลสซิ่งบูมแบบภายในอาคารกันก่อนนะครับ ซึ่งทำการติดตั้งได้ทั้งในช่องลิฟท์และทำการติดตั้งแบบบล็อคพื้นอาคาร

4

5

การติดตั้งในช่องลิฟท์

6

7

การติดตั้งแบบเจาะช่องพื้นอาคาร

    ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบของวิศวกรอาคารว่าสามารถรับแรงหรือน้ำหนักเครื่องจักรได้หรือไม่ เพื่อคำนึงถึงความปลอดภัยและเมื่องานก่อสร้างหรือเทคอนกรีตของตัวอาคารสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ก็จะมีการดีดเลื่อนระดับเพิ่มความสูงของเพลสซิ่งบูมตามไปเพื่อใช้เทคอนกรีตชั้นต่อไป และต่อท่อส่งคอนกรีตระหว่างตัวปั๊มคอนกรีตกับตัวเพลสซิ่งบูมตามควบคู่กันไป จนกว่าจะจบโครงการครับ  เกือบลืมบอกไปครับว่าการติดตั้งแบบภายในอาคารความสูงของตัวเสาหรือที่เรียกว่าแมส มีความสูงจากจุดยึดแมสตัวบนสุดได้ถึง 10-15 เมตรเลยทีเดียว (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดยึดแมสและความยาวของแมสทั้งหมดด้วยนะครับ) ซึ่งทางผู้รับเหมาสามารถใช้เทคอนกรีตได้ 2-3 ชั้นต่อการดีดเลื่อนระดับหนึ่งครั้งเลยนะครับ และการควบคุมตัวแขนกลทุกวันนี้พัฒนาเป็นแบบใช้รีโมทควบคุมแบบไร้สายกันแล้ว ในบางยี่ห้อของเครื่องจักรและความยาวของบูมตามข้อมูลที่ผู้เขียนทราบมามีถึง 32 เมตร และสามารถหมุนรอบตัวได้ 370 องศา ก็น่าจะครอบคลุมพื้นที่การเทคอนกรีตอยู่พอสมควร

8

10

การควบคุมเพลสซิ่งบูมด้วยรีโมทควบคุมแบบไร้สาย

   และอีกแบบที่ติดตั้งเพลสซิ่งบูมคือการติดตั้งแบบภายนอกอาคาร สำหรับงานอาคารสูงและไม่สะดวกในเรื่องของพื้นที่การตั้งปั๊มบูมการติดตั้งประเภทนี้ใช้วิธีติดตั้งยึดติดกับตัวฐานราก (BASE FRAME) ซึ่งตัวฐานรากนี้ถูกยึดด้วยการเทฟุตติ้งไว้แล้วและความสูงของตัวแมสในการติดตั้งแบบนี้มีถึง 20 เมตรเลยทีเดียว การใช้งานในการเทคอนกรีตก็มีลักษณะเดียวกันกับแบบที่ติดตั้งภายในอาคาร คือใช้ปั๊มลากเป็นตัวดันคอนกรีตผ่านท่อส่งคอนกรีตไปยังตัวบูมเพื่อส่งไปยังจุดที่ต้องการครับ

10

ติดตั้งแบบภายนอกอาคาร

11

12

การติดตั้งยึดติดกับตัวฐานราก (BASE FRAME)

   ส่วนเรื่องขั้นตอนการติดตั้งจุดรับความแข็งแรงต่าง ๆ ของเพลสซิ่งบูมก็ขึ้นอยู่กับความชำนาญและการออกแบบของวิศวกรของเครื่องจักรยี่ห้อต่าง ๆ ซึ่งจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไปครับ  หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมไปที่ pstgroup.biz (ขาย ให้เช่า รถปั๊มคอนกรีต ปั๊มคอนกรีต และอะไหล่)




บทความจากแผนกซ่อมบำรุง PST Group