เทคนิคการฉาบปูนแบบดั้งเดิม (โดยไม่ได้ใช้เครื่องพ่นปูนฉาบ)
โดยทั่วไปแล้วช่างที่ทำงานก่อสร้างที่เกี่ยวกับการขึ้นผนังปูน ก็จะทำการผสมปูนหรือคอนกรีตก่อนที่จะนำไปทำการฉาบปูนลงบนพื้นผิวผนังที่ต้องการ โดยการผสมปูนหรือคอนกรีตนั้นจะใช้อัตราส่วนในการผสมคือ ใช้ปริมาณของซิเมนต์ ½ กระสอบ และทรายปริมาณ 4 บุ้งกี๋ เทลงบนกระบะหรือภาชนะ เพื่อจะทำการผสมปูน โดยทำการคลุกเคล้าให้เข้ากันทั้งเนื้อซีเมนต์และเนื้อทราย จากนั้นก็นำน้ำประมาณ 5-7 ขัน เทลงไปในกระบะหรือภาชนะที่ใช้ผสม แล้วทำการคนหรือกวนเนื้อซิเมนต์ ทราย และน้ำ ให้เข้ากัน
หลังจากผสมปูนหรือคอนกรีตเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการเตรียมพื้นที่สำหรับที่จะฉาบปูนหรือฉาบคอนกรีต โดยให้ทำการพรมน้ำบริเวณพื้นผิวที่จะฉาบปูนหรือคอนกรีตให้ชุ่ม จากนั้นใช้จอบหรือเกรียงตักปูนที่ได้รับการผสมเรียบร้อยแล้วใส่ลงไปในถัง และต่อมาให้ใช้เกรียงตักปูนจากถัง เพื่อที่จะทำการฉาบปูนหรือฉาบคอนกรีตลงบนบริเวณผิวผนัง โดยเริ่มฉาบปูนจากพื้นผิวด้านบนก่อนแล้วค่อยฉาบปูนลงบนพื้นผิวด้านล่าง แต่ในระหว่างที่กำลังตักปูนมาฉาบลงบนพื้นผิวผนังนั้น อาจจะมีเนื้อปูนหรือคอนกรีตตกหล่นลงบนพื้น ซึ่งจะทำให้เสียเนื้อปูนหรือคอนกรีตที่จะใช้งานไป ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองของวัตดุดิบ และก็จะใช้เวลาที่ค่อนข้างนานในการฉาบปูนหรือฉาบคอนกรีตในแต่ละครั้ง เพราะจะต้องทำตักปูนหรือคอนกรีตมาก่อนเพื่อจะฉาบปูนที่พื้นผิวผนัง
หลังจากฉาบปูนจนเต็มพื้นผิวผนังแล้ว ให้พักไว้ประมาณ 10 นาที เพื่อรอให้เนื้อปูนหมาด จากนั้นใช้สามเหลี่ยมมาทำการปาดผิวปูนในบริเวณพื้นผิวที่ได้ทำการฉาบปูนหรือคอนกรีตไปแล้ว โดยให้ทำการปาดปูนฉาบจากด้านล่างขึ้นไปด้านบน แล้วให้ใช้เกรียงมาปาดปูนและแต่งผิวเนื้อปูนอีกครั้ง และก็ใช้สามเหลี่ยมเก็บรอยอีกที จากนั้นใช้ฟองน้ำที่ชุ่มน้ำมาปรับแต่งผิวหน้าคอนกรีตให้เนียนยิ่งขึ้น หรืออาจจะพรหมน้ำก่อนที่จะทำการปรับแต่งผิวหน้าปูนหรือคอนกรีต แล้วใช้ฟองน้ำและเกรียงมาปรับผิวเนื้อผนังคอนกรีตที่ฉาบปูนหรือคอนกรีตให้เนียนยิ่งขึ้น เมื่อปรับผิวคอนกรีตจนเรียบเนียนแล้ว ก็ใช้ไม้กวาด มากวาดเม็ดทรายออก
จะเห็นได้ว่าเทคนิคการฉาบปูนแบบดั้งเดิมจะค่อนข้างใช้เวลาที่นานและมีการสิ้นเปลืองปริมาณปูนค่อนข้างเยอะ จึงอยากจะเสนอเทคนิคการฉาบปูนสมัยใหม่ที่อาศัยการทำงานของเครื่องพ่นปูนฉาบ เพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว
เทคนิคการฉาบปูนแบบใหม่โดยใช้เครื่องพ่นปูนฉาบ
ปัจจุบันนี้ได้มีการคิดค้นเครื่องจักรหรือเครื่องมือก่อสร้างเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการฉาบปูน โดยการใช้เครื่องจักรหรือเครื่องมือก่อสร้างที่เรียกว่า “เครื่องพ่นปูนฉาบ” โดยเครื่องพ่นปูนฉาบ จะมีความสามารถที่โดนเด่นก็คือ สามารถที่จะผสมปูนหรือคอนกรีตในตัวเครื่องได้ โดยอาศัยการทำงานของมอเตอร์ เมื่อมีการเทวัตดุดิบ เช่น ผงปูนหรือซีเมนต์ ทราย และน้ำ ไปในที่พักภายในตัวเครื่อง เมื่อเปิดการทำงานของตัวเครื่อง ก็จะสามารถผสมปูนจนเข้ากัน ทำให้สะดวกกว่าเดิม (ไม่ต้องผสมปูนข้างนอกเองแล้วนำไปฉาบปูน) หลังจากนั้นเมื่อสั่งยิงปูนแล้ว ตัวเครื่องพ่นปูนฉาบจะทำการลำเลียงปูนหรือคอนกรีตที่ผสมเสร็จแล้วไปตามท่อยางสำหรับลำเลียง เมื่อปูนมาถึงกระบอกยิง ผู้ใช้งานเครื่องก็ต้องทำการพ่นปูนฉาบหรือคอนกรีตที่ผสมเสร็จแล้วไปบนพื้นผิวผนังที่จะทำการพ่นปูนฉาบ โดยในการพ่นปูนฉาบนั้น ต้องทำการพ่นปูนฉาบให้ทั่วทั้งบริเวณพื้นผิวที่ต้องการ เนื้อปูนหรือคอนกรีตจะไม่ตกลงระหว่างทางเหมือนการใช้วิธีฉาบปูนแบบดั้งเดิม หลังจากที่พ่นปูนฉาบเรียบร้อยแล้ว ต้องทำการปาดหน้าผิวคอนกรีตด้วยการใช้สามเหลี่ยม หรือใช้เครื่องมือก่อสร้างหรือเครื่องจักรก่อสร้าง ที่เรียกว่า “เครื่องปาดปูน” ซึ่งเครื่องปาดปูนนี่เองจะช่วยอำนวยความสะดวกและรวดเร็วในการปาดผิวคอนกรีตที่มากกว่าการใช้สามเหลี่ยมในการปาดปูน
ก็จะเห็นได้ว่า การที่มีเครื่องมือหรือเครื่องจักรก่อสร้างสมัยใหม่ ที่เรียกว่า “เครื่องพ่นปูนฉาบ” เข้ามาก็ช่วยในการฉาบปูน ก็จะทำให้สะดวก รวดเร็ว และประหยัดในส่วนของเนื้อคอนกรีตหรือเนื้อปูนมากกว่าการฉาบปูนแบบดั้งเดิม
บทความจาก PST Group
https://www.youtube.com/channel/UC29BiULmgDvqT8N17RIuM1