การแก้ไขปัญหาปิดเครื่องที่ปืนพ่นแต่เครื่องไม่ตัด สำหรับเครื่องพ่นปูนฉาบ รุ่น Koine4,Koine35,Koine3

28/04/2020 | 4650

การแก้ไขปัญหาปิดเครื่องที่ปืนพ่นแต่เครื่องไม่ตัด สำหรับ เครื่องพ่นปูนฉาบ รุ่น Koine4,Koine35,Koine3


     เครื่องพ่นปูนฉาบ จะสามารถเปิด-ปิด วาล์วลม ที่ปืนพ่น ทำให้เครื่องปิด-เปิด ได้อัตโนมัติ ซึ่งอาศัยระบบลมทำงานผ่านอุปกรณ์ต่างๆ โดย ช่างต้องมีความเข้าใจเรื่องระบบลมของเครื่องพ่นปูนฉาบ ดังนี้

      1. ระบบลมสำหรับเครื่องพ่นปูนฉาบ

      2. ขั้นตอนการทำงานของระบบลม เครื่องพ่นปูนฉาบ เป็นดังนี้
 
          1. ปั๊มลม หรือ Compressor จะสร้างลม ส่งผ่าน มือเสือ ตาม หมายเลข 1 และ ไหลผ่าน วาล์วกันกลับ เพื่อป้องกันไม่ให้ลมย้อนคืน

          2. ลมจะไหลตามท่อทองเหลือง ผ่านไปยัง เพรสเชอร์สวิทซ์ (Pressure Switch) ตาม หมายเลข 2    

  อุปกรณ์นี้จะตรวจสอบว่า ปั๊มลม สร้างแรงลมถึงเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ หากปริมาณลมไม่เหมาะสมก็จะไม่ให้มอร์เตอร์ผสมปูนทำงาน ซึ่ง เพรสเชอร์สวิทซ์ (Pressure Switch)  ตัวนี้ จะเชื่อมกระแสไฟเข้ากับมอร์เตอร์ผสมปูน หรือ มอร์เตอร์มิกซ์ โดยตั้งค่าที่ เพรสเชอร์สวิทซ์ ไว้ที่ 1.5 บาร์ มอร์เตอร์มิกซ์จะปิด และ ที่ 1.1 บาร์ มอร์เตอร์มิกซ์จะเปิด โดยอาศัยหลักการว่า

               2.1 เมื่อผู้ใช้งานปิดวาล์วที่ปลายปืน จะเกิดแรงดันลม มากกว่า 1.5 บาร์ ทำให้ เพรสเชอร์สวิทซ์ (Pressure Switch) ไม่ปล่อยกระแสไฟฟ้าให้กับ มอร์เตอร์มิกซ์ ทำให้มอร์เตอร์มิกซ์หยุดทำงาน

               2.2 ขณะที่เครื่องพ่นปูนฉาบทำงานปกติ ปั๊มลม (Compressor) จะสร้างกระแสลมสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ในอัตรา 250 ลิตรต่อนาที ทำให้เกิดแรงดันลม ประมาณ 1.1 บาร์  ทำให้ เพรสเชอร์สวิทซ์ (Pressure Switch) ปล่อยกระแสไฟฟ้าให้กับ มอร์เตอร์มิกซ์ ทำให้มอร์เตอร์มิกซ์ทำงาน      


          3. ลมที่ผ่านออกจาก เพรสเชอร์สวิทซ์ (Pressure Switch) จะผ่านท่อทองเหลืองผ่านเกจวัดแรงดัน (Pressure Gauge) ตาม หมายเลข 3 เป็นการวัดแรงดัน ลมขณะนั้น โดยปกติ จะโชว์ในช่วง 1.1-1.5 บาร์

   ลมจะไหลต่อไปยัง เชอร์สวิทซ์ (Pressure Switch) ตาม หมายเลข 4 อุปกรณ์นี้จะตรวจสอบว่า จะเชื่อมกระแสไฟเข้ากับปั๊มน้ำ และ ปั๊มลม โดยตั้งค่าที่ เพรสเชอร์สวิทซ์ ไว้ที่ 3.0 บาร์ ปั๊มน้ำ และ ปั๊มลม จะปิด และ ที่ 1.8 บาร์ ปั๊มน้ำ และ ปั๊มลม จะเปิด โดยอาศัยหลักการว่า


               3.1 หากมีจุดใดจุดหนึ่งของระบบลมรั่ว แรงดันในระบบจะต่ำกว่า 1.8 บาร์ ปั๊มน้ำ และ ปั๊มลมจะไม่ตัดการทำงาน เพราะปั๊มลมจะต้องทำการสร้างลมให้ได้มากขึ้น
              

              3.2 หากมีจุดใดจุดหนึ่งในระบบลมเกิดการอุดตัน เช่น ปูนแข็งที่ปลายปืนพ่นปูนฉาบ ทำให้ลมออกไปที่ปลายปืนไม่ได้ แรงดันลมในระบบก็จะสูงขึ้น เกิน 3.0 บาร์ ปั๊มน้ำ และ ปั๊มลม จะตัดการทำงาน เพื่อไม่ให้มีการปล่อยน้ำ จนเกิดปัญหาอุดตันเพิ่มขึ้น


           4. ลมผ่านต่อตามท่อทองเหลืองไปยังสายลม โดยเชื่อมต่อกับมือเสือ หน้าคอนโทรล

          5. สายลมจะนำลมไปเชื่อมต่อกับปืนพ่นปูนฉาบ ซึ่ง ปล่อยให้ลมออกปลายปืน คนละช่องกับ ปูนฉาบ แต่ ให้ลมที่ผ่านวาล์วลม ไปรวมกับปูนฉาบที่ปลายปืนเท่านั้น ดังนั้น วาล์วลม หมายเลข 5 จึงมีตัวเปิด-ปิด สามารถ เปิด-ปิด การทำงานของเครื่องพ่นปูนฉาบ ได้นั่นเอง

      3. ปัญหาปิดเครื่องที่ปืนพ่นแต่เครื่องไม่ตัด สำหรับ เครื่องพ่นปูนฉาบรุ่น Koine4,Koine35,Koine3 เกิดจากสาเหตุ และ มีวิธีแก้ไข ดังนี้

              3.1 สายลมมีการฉีกขาด หรือ มือเสือข้อต่อสายลมต่างๆ มีรอยรั่วซึม ทำให้ระบบลมไม่สามารถรักษาแรงดันขั้นต่ำไว้ได้ การแก้ไข ต้องดำเนินการอุดรอยฉีกขาย หรือรอยรั่วโดย

         - การฉีกขาดที่สายลม ดำเนินการปะ หรือเปลี่ยนสายลมใหม่

         - ข้อต่อหรือมือเสือ ดำเนินการ เช็คซีลยางของมือเสือว่ายังอยู่ในสภาพดีหรือไม่ และ มือเสือล๊อคกันแน่นหรือไม่หากไม่พร้อมใช้ก็ต้องดำเนินการเปลี่ยนมือเสือตัวใหม่

มือเสือ ½ นิ้ว Geka quick coupling

สายลม (Airhose with Geka quick coupling)


              3.2 วาล์วกันกลับ (Non-return valve) สึกหรอ อันเนื่องมาจากการใช้งานสักระยะหนึ่งโดยปกติประมาณ 1 ปี จะเกิดช่องรั่วซึม ตามภาพ วิธีแก้ไข ต้องเปลี่ยน วาล์วกันกลับตัวใหม่

              3.3 ปัญหาปริมาณลมที่สร้างเข้ามาในระบบไม่พอ เกิดจากการ สร้างลมไม่พอของปั๊มลม (Compressor) ได้แก่

         - แผ่นเมมเบรน (Compressor membrane) มีรอยฉีกขาดทำให้ไม่สามารถสร้างปริมาณลมได้เพียงพอ การแก้ไขต้องเปลี่ยนแผ่นเมมเบรนใหม่

         - ปั๊มลม หรือ Compressor มีส่วนต่างๆ เกิดปัญหา ทำให้ไม่สามารถสร้างลมได้ดี ได้แก่ ขาลูกสูบ หมายเลข 3 หัก การแก้ไขต้องเปลี่ยนขาลูกสูบใหม่ ,กรองปั๊มลม หมายเลข 12 หายหรือเสื่อมสภาพ  ทำให้ มีเศษปูน หรือเศษแข้งเข้ามาจาก กรองปั๊มลม การแก้ไข ต้องเปลี่ยนกรองปั๊มลมใหม่  

           - ท่อหรือข้อต่อของระบบลมที่ออกมาจากปั๊มลมมีรอยรั่วซึม เช่น เบอร์ 41,45







บทความจาก ฝ่ายขายเครื่องจักรและอะไหล่IMER
PST Group
https://www.youtube.com/channel/UC29BiULmgDvqT8N17RIuM1