เครื่องพ่นสี ระบบ Airless spray หลักการเบื้องต้นของ AIRLESS SPRAY

29/04/2018 | 296550

AIRLESS SPRAY เป็นกระบวนการทำให้สีแตกเป็นละอองขนาดเล็ก  atomizationโดยไม่ใช้ แรงของอากาศอัดความดัน (compressed air) หมายความว่าสีที่แตกออกเป็นละอองนั้นจะไม่มีเม็ดอากาศปนอยู่ แต่จะเป็นเนื้อสีล้วนๆ โดยสีจะถูกสูบด้วยความดันสูงผ่านสายพ่นไปยังปืนพ่น airless ที่มีรูเปิดขนาดเล็ก สีจะถูกดันออกผ่านรูเปิดนั้นที่เรียกว่า spray tip ซึ่งอยู่ด้านหน้า วาล์ว และจะถูกขนาดของรูเปิดดังกล่าวบังคับให้สีถูกพ่นออกมาเป็นละออง โดยทั่วไปการแตกย่อยสลายของสารพ่นชนิดใดก็ตามจะถูกเรียกว่า atomization

หลักการ ของ AIRLESS SPRAY

 

               AIRLESS SPRAY แตกต่างจาก AIR SPRAY ตรงที่   AIRLESS SPRAY  จะไม่ใช้แรงของอากาศอัดความดันเพื่อการทำให้สีแตกเป็นละออง แต่จะใช้ความดันสูงในการบังคับให้สีไหลจากภาชนะเก็บเดิมผ่านสายพ่นต่อไปที่ปืนพ่นสี ณ จุดนั้นเองสีจะถูกแรงดันสูงบังคับให้ไหลออกทางช่องเปิดขนาดเล็กทำให้สีต้องแตกตัวเป็นละอองจึงจะไหลออกจากปืนได้  ซึ่งหลักการนี้จะคล้ายกับ หัวฉีดสายยางที่เราใช้รถน้ำต้นไม้ในสวน ซึ่งน้ำจะกลายเป็นละอองได้เมื่อไหลผ่านหัวฉีดที่แรงดันสูงนั่นเอง



ข้อได้เปรียบของ AIRLESS SPRAY

 

1.  เพิ่มอัตราการเกาะติดของสีที่ชิ้นงาน ลดปริมาณสีที่ต้องใช้ ในแต่ละครั้ง

นี่คืข้อได้เปรียบอันดับหนึ่งของการพ่นแบบ AIRLESS SPRAY เพราะอัตราการเกาะติดของสีกับชิ้นงานจะมากถึง 75% ในขณะที่การพ่นแบบ AIR SPRAY มีอัตราการเกาะติดเพียง 50% เนื่องจากสีที่เหลืออีก 50% นั้นจะไม่สามารถเกาะติดชิ้นงานได้ จึงจะฟุ้งอยู่ในอากาศ หมายความว่าในการพ่นแต่ละครั้ง AIRLESS SPRAY จะประหยัดปริมาณสีได้มากกว่า

2.  เพิ่มผลผลิต

สีที่พ่นโดยวิธี AIRLESS SPRAY จะด้ความหนาที่สม่ำเสมอยิ่งกว่า และ สีสามารถเกาะติดชิ้นงานได้แน่นกว่า ดังนั้นจึงสามารถลดปริมาณงานเสียที่ต้องแก้ ซึ่งหมายความว่า ต้นทุน และ เวลาที่ใช้กับการแก้งานก็จะลดลงตามไปด้วย ความแน่นหนาในการเกาะติดชิ้นงานของสีที่มากกว่าหมายความว่า ในการปฏิบัติการพ่นสีแต่ละครั้ง ผู้พ่นไม่ต้องเสียเวลาในการมาพ่นซ้ำอีกหลายเที่ยว เพื่อให้ได้ความหนาของสีที่ต้องการ เป็นการประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย และเป็นการเพิ่มผลผลิตในทางอ้อมนั่นเอง นอกจากนั้นด้วยความที่การฟุ้งกระจายของสีลดลง ทำให้สามารถพ่นสีกับชิ้นงานบางชิ้นได้ที่หน้างาน ณ จุดประกอบ โดยไม่ต้องขนย้ายเข้าไปในโรงพ่นให้เสียเวลา

3.  ประหยัดสี

การยึดเกาะติดของสีบนชิ้นงานที่มากขึ้น หมายความว่าการฟุ้งกระจายของสีน้อยลง ตัวละลายสี Solvent ต่างๆก็ใช้น้อยลงด้วย และสามารถใช้สีที่มีความหนืดสูง จึงเป็นการประหยัดทั้งสีและค่าวัสดุอื่นๆ

4.  ประหยัดแรงงาน

AIRLESS SPRAY จะพ่นได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากจะพ่นได้หนากว่าในการพ่นผ่านผิวชิ้นงานในแต่ละครั้ง เนื่องจากสัดส่วนของ Solvent ที่ต้องใช้นั้นน้อยลง การพ่นด้วย AIRLESS SPRAY ในแต่ละครั้ง จะเทียบเท่าการพ่นด้วย AIR SPRAY ถึงสองเที่ยว ดังนั้นจึงลดอัตราการพ่นซ้ำซ้อน (OVERSPRAY) ซึ่งหมายความว่าการสึกหรอของเครื่องมือจะลดลงถึง 10-20% โดยเฉพาะระยะเวลาใช้งานของตัวกรองจะนานยิ่งขึ้น การแปะแบบ หรือ Masking ก็ลดลง การประหยัดเวลาเหล่านี้จึงหมายความว่า แรงงานที่ต้องใช้จะน้อยลงเพื่อให้ได้งานที่เท่ากัน

5.   ประหยัดพลังงาน

เนื่องจากการฟุ้งกระจายของสีในอากาศมีน้อย            ทำให้เราประหยัดพลังงานในการดูดอากาศที่ปนเปื้อนสีและอาจเป็นอันตรายกับบุคคลากรออกจากห้องพ่นได้นั่นเอง

6.   พ่นชิ้นงานได้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

AIRLESS SPRAY สามรถพ่นชิ้นงานได้อย่างครอบคลุมและสม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็นซอกมุมต่างๆ ละอองสีที่พ่นออกมานั้นจะซึมซาบไปสู่ชิ้นงานได้อย่างรวดเร็วโดยที่เราไม่ต้องผสมทินเนอร์ช่วย

7.   มีแรงยึดเกาะที่ดี

การพ่นแบบAIRLESS SPRAY ป้องกันปรากฎการณ์สีแห้งก่อนที่จะยึดติดกับผิวชิ้นงาน เนื่องจากสีที่พ่นออกมาจะเปียกมาก ซึ่งทำให้เรามั่นใจได้ว่า สีที่พ่นไปนั้นจะมีแรงยึดเกาะกับผิววัสดุได้ดี

8.   ง่ายต่อการใช้งาน

ปั๊มสีสามารถสูบสีออกมาจากภาชนะใส่สีได้โดยตรงเนื่องจากก่อนที่สีจะถูกสูบนั้น สีจะไม่อยู่ใต้แรงดันใด นอกจากนี้สายพ่นที่เชื่อมต่อกับปืนพ่นนั้นมีเพียงแค่สายเดียว ทำให้สะดวกต่อการทำงาน

ชนิดของปั๊มพ่นสีด้วยวิธี AIRLESS SPRAY

ปั๊มสี AIRLESS SPRAY สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม โดยพิจารณาจาก แหล่งพลังงาน คือ ชนิดใช้พลังงานลมอัดความดัน (air-operated) พลังจากระบบน้ำ (hydraulic) และ พลังงานผสมจากทั้งระบบไฟฟ้าและระบบน้ำ (electric/hydraulic airless spray). ซึ่งภายใน 3 กลุ่มนี้ เป็นปั๊มพลังงานลมอัดความดันสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลายมากที่สุด เพื่อให้เหมาะกับลักษณะงานตามความต้องการ



ขอบคุณข้อมูลจาก integ