เทรนด์ล่าสุดในการออกแบบและก่อสร้างตึกระฟ้า

29/11/2017 | 358516

ในปัจจุบัน มีจำนวนตึกระฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก และพบได้ทั่วไปในเขตเมืองเกือบทุกพื้นที่ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ทั้งนี้ พื้นที่ใดที่มีตึกระฟ้าเยอะๆ มักพบว่าจะมีค่าเช่าพื้นที่ หรือค่าที่ดินที่มีราคาแพง เพราะมีความต้องการในการใช้พื้นที่ของเมือง ในอัตราที่สูงขึ้นนั่นเอง

ต้องสูงขึ้นอีก


เนื่องด้วยการเกิดขึ้นของสังคมเมือง กลายเป็นประเด็นสำคัญของการใช้ชีวิตที่ทันสมัย ความต้องการพื้นที่อยู่อาศัยจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นเช่นเดียวกัน การสร้างสิ่งก่อสร้างในเมืองใหญ่ จึงต้องสร้างหรือเพิ่มเนื้อที่ในลักษณะของ แนวดิ่ง แทนที่จะสร้างในลักษณะของ แนวนอน ซึ่งการออกแบบในลักษณะนี้ มีความสำคัญต่อโครงสร้างพื้นฐานของเมืองนั้นๆ เพราะมันช่วยเพิ่มความสะดวกในการบริหารพื้นที่ เพื่อตอบสนองต่อจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น

การออกแบบและก่อสร้างตึกระฟ้า จะต้องให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัย และพื้นที่ในการอยู่อาศัย บนสิ่งก่อสร้างที่มีความสูงเช่นนั้น ทำให้ตึกที่สร้างขึ้น ต้องสามารถรองรับน้ำหนัก และทนต่อสภาพของลมฟ้าอากาศ รวมถึงแผ่นดินไหว และการเกิดอัคคีภัยได้ แม้กระนั้น ตึกระฟ้า ยังต้องมอบความสะดวกสบายในการพักอาศัย และมีการปรับสภาพอากาศในส่วนต่างๆ ของตึกให้มีความเหมาะสม นี่จึงทำให้การก่อสร้างตึกระฟ้า จะต้องมีการคิดคำนวณวางแผนอย่างซับซ้อน โดยให้มีความสมดุลกับเศรษฐกิจ, การวิศวกรรม และบริหารงานก่อสร้าง

ความยั่งยืนก็เป็นสิ่งสำคัญ

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คำว่า “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ได้เปลี่ยนจากความนิยมต้องการ ไปสู่ความจำเป็น ในมุมมองเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับตึกระฟ้านั้น หมายความถึงการก่อสร้าง, สิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกอาคาร, ประสิทธิภาพของสิ่งปลูกสร้าง, ชนิดของวัสดุที่นำมาใช้, ความชำนาญในการก่อสร้าง, กการเลือกใช้ทรัพยากรและวัสดุก่อสร้างอย่างคุ้มค่า, ระบบพลังงานภายในอาคาร และระบบการก่อสร้างอาคารแบบองค์รวม อีกทั้ง การพัฒนาอย่างยั่งยืนยังหมายรวมถึง แผนในการจัดการ และดำเนินการก่อสร้างอาคารที่เหมาะสมด้วย

การพัฒนาอย่างยั่งยืน ยังครอบคลุมถึงประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ, การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ, การปกป้องสิ่งแวดล้อม และพัฒนาการของสังคม ด้วยการออกกฎหมายในการก่อสร้างอาคาร ได้ส่งผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของการก่อสร้างอาคารด้วย ซึ่งทำให้เกิดการตั้งคณะกรรมการต่างๆ ทั้งส่วนภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่ในการตรวจสอบอาคาร เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน และกฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมถึงการก่อสร้างอาคารตามกฎหมายในการก่อสร้างอาคารที่ปฏิบัติได้ถูกต้อง ทั้งทางภาครัฐและเอกชน ผู้ก่อสร้างอาคาร สามารถขอใบรับรอง Leadership in Energy and Environmental Design (LEED)ซึ่งเป็นมาตรฐานการก่อสร้างอาคาร ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

จากคำกล่าวของ Louis Nowikas รองประธานบริษัท Hearst Corporation ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในการก่อสร้างอาคารไว้ว่า “การก่อสร้างอาคาร ไม่เพียงแค่ต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่เราจำเป็นต้องสร้างอาคารที่สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพได้ เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อกาลเวลา”

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี


การเลือกใช้วัสดุที่มีประสิทธิภาพสูงในการก่อสรร้างอาคาร ให้มีความทันสมัยมากขึ้น, การเพิ่มห่วงโซ่อุปทานในการก่อสร้าง และการบริหารจัดการการก่อสร้างอาคารที่ดี จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายของผู้อยู่อาศัย รวมถึงงานวิจัยทางด้านสภาพอากาศและแผ่นดินไหว จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับอาคารมากขึ้นด้วย

ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาในเรื่องของ High-resolution computational fluid dynamics (Hi-Res CFD Studies) ในผู้คนที่เดินทางเท้า ช่วยประเมินทิศทางการไหลเวียนของอากาศภายในเมือง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อประชากรที่อยู่ในเมือง และคนที่อยู่ในอาคารด้วย

ต้องเป็นที่อยู่อาศัย มากกว่าการเป็นสิ่งปลูกสร้างแบบไร้ชีวิตชีวา
ผลจากการสร้างตึกระฟ้า มีมากกว่าแค่เรื่องของการก่อสร้าง แต่นั่นรวมถึงการใช้ชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองดังกล่าวด้วย สถาปนิกและนักวางผังเมือง จะต้องให้ความมั่นใจว่า สิ่งก่อสร้างของพวกเขานั้น จะต้องส่งผลในแง่บอกต่อสิ่งแวดล้อมข้างเคียง รวมถึงความยั่งยืนของสังคมในเมืองนั้นๆอีกทั้งรูปแบบการออกแบบอาคาร ควรที่จะสอดคล้องกับบริบทต่างๆ ซึ่งก็ยังเชื่อมโยงไปในเรื่องของสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมของสังคม

อ้างอิงข้อมูลจาก projectlink