เทคนิคการเชื่อม

23/11/2017 | 450051

เทคนิคการเชื่อม (ข้อมูลอ้างอิงจาก http://oknation.nationtv.tv/blog/Ruswan)
กรรมวิธีการเชื่อมโลหะด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ เป็นกรรมวิธีที่อาศัยการอาร์ค ระหว่างปลายลวดเชื่อมกับชิ้นงาน หลอม
เป็นแนวเชื่อมได้อย่างต่อเนื่องและสมบูรณ์ จะต้องใช้ทักษะจากช่างเชื่อมในการปฏิบัติงานจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่างเชื่อม
หรือผู้ปฏิบัติงาน จำเป็นต้องรู้ถึงเทคนิคต่างในการปฏิบัติงานดังนี้

1. ปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่องและหลายครั้งจนเกิดความชำนาญ

รูปที่1 : แสดงถึงวิธีการเริ่มต้นอาร์กแบบเคาะ
2. วิธีขีด (Scratching) หรือวิธีเขี่ยลวดเชื่อม ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติดังนี้


รูปที่2 : การเริ่มต้นและสิ้นสุดแนวเชื่อม

3. การเริ่มต้นและสิ้นสุดแนวเชื่อม

คุณภาพของแนวเชื่อมนั้น ไม่ได้ดูตรงส่วนหนึ่งส่วนใดเป็นการเฉพาะแต่จะต้องดูตลอดทั้งแนว ช่างเชื่อมหลายคน

ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากละเลยข้อปฏิบัติการเริ่มต้น และการสิ้นสุดแนวเชื่อม จึงควรพิจารณา

วิธีปฏิบัติดังนี้
3.1 การเริ่มต้นเชื่อม ควรเตรียมงานให้สะอาด ปราศจากสิ่งต่างๆ เช่น จาระบี, น้ำมันสนิม
เพราะจะทำให้รอยเชื่อมที่ได้ไม่มีคุณภาพตามต้องการ การเริ่มต้นเชื่อมบริเวณจุดเริ่มต้นของแนวเชื่อมจะเริ่มจาก
การทำให้เกิดการอาร์ก เมื่อเกิดการอาร์กขึ้นแล้วให้ยกลวดเชื่อม ขึ้นประมาณ 2 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของ
ลวดเชื่อม ทำมุมเชื่อมตามลักษณะของรอยต่อแบบต่างๆซึ่งมุมเชื่อมจะแตกต่างกันไป หลังจากนั้นให้สร้างบ่อ
หลอมเหลวซึ่งจะกว้างประมาณ 1.5 – 2 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางลวดเชื่อม
3.2 วิธีการเชื่อมเมื่อสิ้นสุดแนวเชื่อม เมื่อทำการเชื่อมถึงจุดสุดท้ายของแนวเชื่อม จะเป็น
แอ่งโลหะปลายแนวเชื่อม (Crater) ซึ่งเป็นจุดที่มีความแข็งแรงต่ำสุดของแนวเชื่อม และเป็นจุดเริ่มต้นของการ
เกิดรอยร้าวขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องเติมลวดเชื่อมที่ปลายแท่งโลหะให้เต็ม โดยให้เดินย้อนกลับเล็กน้อย แล้วหยุด
เติมแอ่งปลายแนวเชื่อมให้เต็ม ดังแสดงในรูป 3


รูปที่3 : วิธีการเชื่อมเมื่อสิ้นสุดแนวเชื่อม

4. การต่อแนวเชื่อม ลวดเชื่อมไฟฟ้าแบบหุ้มฟลักซ์ เมื่อเชื่อมจนลวดเชื่อมเหลือประมาณ 38.10 มม.
จะต้องมีการเปลี่ยนลวดเชื่อมใหม่ และในการเปลี่ยนลวดเชื่อมใหม่ จะต้องมีการต่อแนวเชื่อม ซึ่งจะต้องเป็นแนว
เดียวกันกับแนวเดิม และต้องมีความแข็งแรงและมีคุณสมบัติเท่ากับแนวเดิมด้วย ซึ่งวิธีการต่อแนวเชื่อมมีวิธีการ
ปฏิบัติดังนี้
4.1 ในกรณีที่แอ่งปลายแนวเชื่อมยังร้อนอยู่ ให้เชื่อมต่อได้ทันทีโดยไม่ต้องเคาะทำความสะอาดโดยให้เริ่มต้น
อาร์กจากแอ่งหลอมเหลวเดิมไปทางด้านหน้าประมาณ ½ - 1 นิ้ว ดังแสดงในรูปที่ 133 เริ่มอาร์คที่จุด A แล้วจึง
ถอยหลังกลับไปที่จุด B ซึ่งเป็นบ่อหลอมละลายของแนวเชื่อมเดิม (วิธีนี้ถ้าช่างเชื่อมขาดทักษะจะเกิดสแลกฝังใน
รอยเชื่อม)
4.2 ในกรณีที่แอ่งปลายแนวเชื่อมเย็นแล้ว ให้ทำความสะอาด โดยใช้ค้อนเคาะสแลก (Slag) ออก และใช้แปรง
ลวดขัดให้สะอาดอีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นให้เริ่มต้นอาร์กห่างจากแอ่งหลอมเหลวเดิมไปทางด้านหน้าประมาณ ½
นิ้ว- 1 นิ้ว เช่นเดียวกับข้อ 2.3.1 ดังแสดงในรูป 133 เริ่มอาร์กที่จุด A แล้วจึงถอยกลับไปที่จุด B ซึ่งเป็นบ่อ
หลอมเหลวของแนวเชื่อมเดิม


รูปที่4 : แผนภาพในการต่อแนวเชื่อม


ข้อสังเกตในการต่อแนวเชื่อม ไม่ควรเริ่มต้นอาร์กใหม่ข้างแอ่งโลหะ ปลายแนวเชื่อมเพราะจะทำให้ความร้อนไม่เพียง
พอที่จะหลอมเหลวเป็นเนื้อเดียวกันของแนวเชื่อม และการเติมลวดเชื่อมตามแนวท่อจะต้องควบคุมอย่าให้มากเกินไป
เพราะจะทำให้แนวเชื่อมนูนกว่าแนวเดิม แต่ถ้าเติมลวดเชื่อมน้อยเกินไป จะทำให้แนวเชื่อมแบนและเกิดรอยแหว่ง

4.3 การเชื่อมแนวเส้นเชือก หมายถึง การเชื่อมโดยไม่ส่ายลวดเชื่อมขณะทำการเพียงแต่ควบคุมระ ยะ
อาร์กมุมของลวดเชื่อม และความเร็วในการเดินลาดเชื่อม เท่านั้น ซึ่งการเชื่อมแนวเส้นเชือกนี้ โดยทั่วไปจะใช้กับการเชื่อม
ในท่าขนานนอนและถ้าตั้งเชื่อมลง เพราะถ้าส่ายลวดเชื่อมอาจจะทำให้แนวเชื่อมไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะเกิดรอยแหว่งขึ้น
ได้
4.4 การเชื่อมส่ายลวดเชื่อม หมายถึง การลากลวดเชื่อมไปทางด้านข้างเพื่อให้ แนวเชื่อมมีขนาดกว้าง
ขึ้น โดยทั่วไปแล้ว ความกว้างของแนวเชื่อมไม่ควรเกิน 5 เท่าของความโตลวดเชื่อม การเลือกรูปร่างหรือแบบของการส่าย
ลวดเชื่อม จะต้องคำนึงถึงชนิดของรอยต่อ ขนาดของแนวเชื่อม และตำแหน่งท่าเชื่อมด้วย การเชื่อมส่ายลวดเชื่อมนี้
โดยทั่วไปใช้เทคนิคนี้กับการเชื่อมรอยต่อร่องของตัววี สำหรับงานหนาๆและรอยเชื่อมพิลเลทบนรอยต่อแบบต่างๆ หรือการ
เชื่อมเสริมทับกันหลายๆชั้น การเชื่อมส่ายลวดเชื่อมจะเป็นเทคนิคที่สำคัญอย่างหนึ่ง สำหรับการเชื่อมไฟฟ้าแบบอาร์ก
รูปแบบการส่ายลวดเชื่อม อาจแบ่งตามลักษณะของตำแหน่ง ท่าเชื่อมดังต่อไปนี้

5. การส่ายลวดเชื่อมในตำแหน่งท่าเชื่อม ท่าราบ (Flat Surface) ดังแสดงในรูปที่ 134 (จุดสีดำตามแนว
ด้านข้างรอยเชื่อม หมายถึง จุดที่หยุดเติมลวดเชื่อมที่แนวด้านข้าง มากกว่าส่วนอื่น เพื่อป้องกันการเกิดรอยแหว่งที่
ขอบ แนวเชื่อม)
5.1 ถือลวดเชื่อมให้อยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับงาน
5.2 กดลวดเชื่อมลงไปเกาะหรือแตะบนแผ่นเหล็กเบาๆ แล้วรีบยกขึ้นโดยเร็วเมื่อเกิดการอาร์ก และให้ลวดเชื่อมเคลื่อนที่ไปข้างหน้าประมาณ 2 – 3 มม.
5.3 ปฏิบัติตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง และหลายครั้งจนเกิดความชำนาญ



รูปที่5 : แสดงการส่ายลวดเชื่อมในตำแหน่งท่าเชื่อมราบ

รูปที่6 : แสดงการส่ายลวดเชื่อมในตำแหน่งท่าเชื่อมตั้ง

รูปที่7 : แสดงการส่ายลวดเชื่อมในตำแหน่งท่าเชื่อมเหนือศรีษะ