ลวดเชื่อมเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในการเชื่อมโลหะ เพราะเป็นตัวประสานรอยแตก, รอยร้าว หรือการยึดโลหะ 2 ชิ้นให้ติดกัน โดยในการเลือกลวดเชื่อมนั้น จำเป็นจะต้องพิจารณาถึงลักษณะงานที่ทำ, ลักษณะของรอยเชื่อมที่ต้องการ ตลอดจนรูปแบบการเชื่อมของเครื่องเชื่อมซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด นั่นคือการเชื่อมไฟฟ้าและการเชื่อมด้วยแก๊ส โดยที่ในบทความนี้จะกล่าวถึงอักษรย่อของเบอร์ลวดและการนำลวดเชื่อมไปใช้ในงานตามลักษณะของวัสดุที่ใช้ในการผลิตลวดดเชื่อม
ในที่นี้จะขอกล่าวถึงลวดเชื่อมไฟฟ้าแบบหุ้มฟลักซ์ ตามมาตรฐานของ AWS ซึ่งในเบอร์ที่ต่างกันนั้นเนื่องมาจากชนิดของโลหะที่จะเชื่อมนั้นแตกต่างกัน ซึ่งเบอร์ที่นิยมใช้กันมากได้แก่
· AWS-A 5.1 ลวดเชื่อมสำหรับเหล็กกล้าคาร์บอน
· AWS-A 5.3 ลวดเชื่อมสำหรับอลูมิเนียมและอลูมิเนียมผสม
· AWS-A 5.4 ลวดเชื่อมสำหรับเหล็กกล้าโครเมียม และเหล็กกล้าโครเมียมนิกเกิล หรือลวด
เชื่อมสแตนเลส
· AWS-A 5.5 ลวดเชื่อมสำหรับเหล็กกล้าผสมต่ำ
· AWS-A 5.6 ลวดเชื่อมสำหรับทองแดงและทองแดงผสม
· AWS-A 5.11 ลวดเชื่อมสำหรับนิกเกิลและนิกเกิลผสม
· AWS-A 5.15 ลวดเชื่อมสำหรับเหล็กหล่อ
มาตรฐานลวดเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอนอ้างอิงสถาบัน AWS
(American Welding Standard)
ทางสมาคมการเชื่อมสหรัฐอเมริกาได้กำหนดมาตรฐานตัวย่อสำหรับสเปคของเหล็กกล้าคาร์บอนเป็นตัวอักษรและตัวย่อดังนี้แยกตามประเภทของฟลักซ์หุ้มดังนี้
· อักษร R สารพอกไททาเนียมไดออกไซด์ เป็นชนิดที่นิยมที่สุด เพราะช่วยทำให้ประกายเชื่อมสม่ำเสมอ สามารถเชื่อมเหนียวโลหะที่มีความหนาน้อยๆได้ และสามารถดัดเป็นรูปทรงได้ง่ายกว่า
· อักษร B สารหุ้มด่างหินปูน มีความจำเป็นต้องเคลือบหินปูนจะถูกเผาไหม้ในการเชื่อมและไปเคลือบโลหะไม่ให้อากาศเข้าไปทำปฏิกริยาในบ่อหลอมละลาย
· อักษร C สารพอกเซลลูโลส เป็นสารชนิดที่ต้องมีการหุ้มฟลักซ์ เหมาะสำหรับการเชื่อมในแนวดิ่ง (Vertical Welding) และการเชื่อมในท่ายากๆ
· อักษร A สารพอกหุ้มกรดแร่ เป็นการพอกหุ้มด้วยโลหะหนัก เช่นประเภทแร่ ซิลิเกด หรือสารดีออกซิเดชั่น เหมาะสำหรับงานเชื่อมเร็วๆ, หน้าแนวเชื่อมเรียบ
· อักษร Ox สารหุ้มออกไซด์ เป็นการพอกหุ้มลวดเชื่อมด้วยสารเหล็กออกไซด์ มีคุณสมบัติทางกลต่ำ ปัจจุบันลวดเชื่อมชนิดนี้แทบจะไม่มีผู้ผลิตแล้ว มีการใช้งานในวงแคบเท่านั้นและเชื่อมได้เฉพาะท่าราบ
· อักษร S สารหุ้มชนิดพิเศษ เป็นลวดเชื่อมที่มีสารหุ้มที่เป้นชนิดที่ไม่สามารถจัดอยู่ในประเภทดังที่กล่าวมาแล้วได้
โดยที่ความหมายของรหัสของลวดเชื่อมสามารถที่จะอธิบายได้ดังนี้
เช่นตัวอย่าง E7022
E (รหัสตัวแรก) หมายถึง ลวดเชื่อมไฟฟ้า
70 (2 ตัวหน้า) หมายถึง ค่าความต้านทานแรงต่ำสุด = 70 x 1,000 = 70,000 PSI
2(ตัวที่ 3) หมายถึง ท่าเชื่อม โดย
1 คือ ท่าราบ ท่าตั้ง ท่าขนานนอน ท่าเหนือศรีษะ
2 คือ ท่าขนานนอน และท่าราบเท่านั้น
3 คือท่าราบเท่านั้น
2(ตัวที่ 4,5) หมายถึงคุณสมบัติของลวดเชื่อม อ้างอิงตามตาราง 1 เช่น (เลข 2 ตามตารางหมายถึง ใช้กระแสไฟ AC5DCEP และ EN
รหัสลวดเชื่อม |
ชนิดกระแสไฟ |
ลักษณะการอาร์ค |
สารละลายลึก |
ผงเหล็ก |
ลักษณะของ สแลก |
สารฟอกหุ้ม |
10 |
DCRP |
รุนแรง |
มาก |
0-10% |
บาง |
เซลลูโลส-โซเดียม |
1 |
AC&ECEP |
รุนแรง |
มาก |
0% |
บาง |
เซลลูโลส-โพแทสเซียม |
2 |
AC5DCEP&EN |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
1-10% |
หนา |
รูไทล์-โซเดียม |
3 |
AC5DCEP&EN |
นิ่มนวล |
น้อย |
0-10% |
ปานกลาง |
รูไทล์-โพแทสเซียม |
4 |
AC5DCEP&EN |
นิ่มนวล |
น้อย |
25-40% |
กำจัดง่าย |
รูไทล์-ผงเหล็ก |
5 |
DCEP |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
0% |
ปานกลาง |
ไฮโดรเจนต่ำ – โซเดียม |
6 |
ACDหรือ CEP |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
0% |
ปานกลาง |
ไฮโดรเจนต่ำ-โพแทสเซียม |
8 |
AC หรือ DCEP |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
25-40% |
ปานกลาง |
ไฮโดรเจน-โซเดียม |
20 |
AC หรือ DCEP&EN |
นิ่มนวล |
น้อย |
0% |
หนา |
เหล็กออกไซด์-โซเดียม |
24 |
AC หรือ DCEP%EN |
นิ่มนวล |
น้อย |
50% |
หนา |
รูไทล์-ผงเหล็ก |
27 |
AC หรือ DCEP&EN |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
50% |
หนา |
เหล็กออกไซด์-ผงเหล็ก |
28 |
AC หรือ DCEP |
ปานกลาง |
ปานกลาง |
50% |
ปานกลาง |
ไฮโดรเจน-ผงเหล็ก |
ตารางที่1 ตารางแสดงถึง Spec ของลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์อ้างอิงตาม Code ต่างๆ
อ้างอิงตาม Website : www.gpsteawthai.com