การเตรียมการในการเทคอนกรีต การลำเลียงคอนกรีต และการเทคอนกรีตอย่างถูกวิธี

29/11/2017 | 9375

การเตรียมการในการเทคอนกรีต



คอนกรีตต้องมีคุณภาพสม่ำเสมอและมีปริมาณเพียงพอ และมีอัตราการลำเลียงที่เหมาะกับอัตราการเท

เครื่องมือที่ใช้ในการเทคอนกรีตต้องมีเพียงพอ สะอาด และพร้อมใช้งาน มีอัตราการเทที่เหมาะสม สามารถเข้าใกล้จุดที่ต้องการเทมากที่สุด และไม่ทำให้คอนกรีตแยกตัว

การเตรียมการอื่น ๆ เช่น มีคนงานเพียงพอ ถ้าเทกลางคืน ควรมีแสงไฟเพียงพอ และตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ เช่น รอยต่อ แบบหล่อ เหล็กเสริม และสิ่งที่จะฝังติดในคอนกรีต ให้พร้อมก่อนการเท

การลำเลียงคอนกรีต


การลำเลียงคอนกรีตที่ผสมแล้วควรจะคำนึงถึงคอนกรีตในขณะที่ลำเลียงให้เกิดการแยกตัวน้อยที่สุด การลำเลียงนั้นจะต้องกระทำกันให้รวดเร็วก่อนที่คอนกรีตจะเกิดการก่อตัวดังนั้นจึงต้องมาการวางแผนการเทคอนกรีตทุกครั้ง โดยคำนึงถึงปริมาณคอนกรีตที่จะเท สภาพคอนกรีตที่จะเทมีความข้นเหลวมากเพียงใด ลักษณะงานที่จะต้องเทเป็นประเภทงานโครงสร้างอะไรอุปกรณ์ที่ใช้เทต้องเหมาะกับงานนั้น เพื่อสภาพในการทำงานมีความคล่องตัวมากขึ้นหลักการควรพิจารณาการลำเลียงคอนกรีตมีดังนี้

1. การเลือกใช้คอนกรีต ลักษณะของคอนกรีตในแบบก่อสร้างผู้ออกแบบจะกำหนดกำลังอัดของคอนกรีตมาในแบบอยู่แล้ว แต่หลักที่ควรพิจารณาคือ ระยะทางในการขนส่งจากโรงที่ผลิตจึงถึงที่โครงการใช้เวลาเท่าไร แล้วการลำเลียงคอนกรีตอีกระยะหนึ่งจึงต้องคำนึงถึงระยะเวลาการก่อตัวของคอนกรีตในการส่งหรือการเทคอนกรีตในลักษณะของโครงสร้างต่างๆ ซึ่งบางโครงสร้างนั้นอาจจะใช้คอนกรีตที่มีกำลังสูงมากแล้วสภาพของคอนกรีตก็จะมีความข้นเหลวมาก ดังนั้นจะทำอย่างไรที่จะทำให้คอนกรีตข้นเหลวพอดีแล้วการไหลเข้าแบบได้ดีดังที่กล่าวมานั้นมันขึ้นอยู่ส่วนผสมของคอนกรีต วัตถุดิบที่ใช้ สารผสมเพิ่ม อุณหภูมิ ความชื้นของอากาศ ที่เป็นปัจจัยที่ทำให้คอนกรีตตัวช้าหรือเร็ว

2. การวางแผนการลำเลียงคอนกรีตกำหนดการจัดส่งคอนกรีต ชนิดและปริมาณที่ส่งระยะเวลาในการออกรถแต่ละคันที่จะส่งถึงจุดที่จะเท จะต้องทำความเข้าใจตรงกันกับผู้ส่งในเรื่องเส้นทาง สถานที่การเข้าออกของรถห้ามมิให้มีการติดขัดเรื่องการเข้าออก หรือเส้นทางในเขตชุมชนที่มีความคับแคบของช่องทางจะต้องจัดแผนการเข้าออกของรถให้ดีอย่าให้รถติดขัดตรงทางเข้าจะทำให้เสียเวลา เครื่องมือและคนงานในการลำเลียงจะต้องเป็นไปอย่างรวดเร็วและประหยัด จึงเป็นหน้าที่ของผู้คุมงานหาเครื่องมือที่จะลำเลียงคอนกรีตได้เร็วและประหยัดในสถานที่ก่อสร้างนั้น ๆ

ดังที่กล่าวมาในข้อสองนั้นว่าจะต้องพิจารณาในเรื่องประหยัดมีความรวดเร็วและสถานที่ในการก่อสร้างที่เหมาะสมใช้เครื่องมือลำเลียงคอนกรีต โดยประเภทเครื่องมือในการลำเลียงมีดังนี้

2.1 รถเข็นหรือรถกระบะใส่คอนกรีต การลำเลียงคอนกรีตโดยรถเข็นเหมาะกับงานที่ระดับราบ ขนาดเล็กเหมาะกับงานที่เครื่องผสมคอนกรีตอยู่ไม่ไกลจากจุดเท และปริมาณคอนกรีตในการเทแต่ละครั้งมีจำนวนไม่มาก ( การลำเลียงคอนกรีตด้วยรถเข็นจะต้องระวังการแยกตัวของคอนกรีต โดยเฉพาะคอนกรีตที่มีความเหลวมาก)

2.2 การเลียงโดยกระบะ (Buckets) การลำเลียงคอนกรีตด้วยระบะเหมาะสำหรับการเทคอนกรีตด้วยอัตรา 20 ลม.ม./ซม. เป็นวิธีการป้องกันการแยกตัวของคอนกรีตได้ดีอีกวิธีหนึ่งกระบะมีหลายขนาด ตั้งแต่ประมาณ 0.3 - 6.11 ลบ.ม. จะใช้กับงานที่สูงหรือระยะที่แคบ การลำเลียงชนิด อื่น ๆ เข้าลำบาก

2.3 การลำเลียงโดยลิฟท์ (Lifts) ลิฟท์จะนิยมใช้กันในโครงสร้างที่มีขนาดของอาคารปานกลางที่มีความสูงไม่มาก ใช้ในการขนลำเลียงคอนกรีตแทนการใช้รถเข็นเพราะมีความยุ่งยากต้องทำทางเดินรถเข็นขึ้นชั้นบน หรือนอกเหนือจากการลำเลียงคอนกรีตแล้วยังเป็นลิฟท์ขนถ่ายวัสดุและเครื่องมืออีกด้วย โครงสร้างของลิฟท์อาจเป็นเหล็กหรือไม้ก็ได้ แต่ข้อเสียของไม้จะมีโครงสร้างที่ไม่แข็งแรงเท่าไรซึ่งตรวจสอบได้โดยการขึ้นลง ของลิฟท์จะเกิดรอยตรงช่องลิฟท์ นานไปอาจทำให้เวลาขึ้นเกิดการสะดุดได้

2.4 การลำเลียงโดยปั๊มคอนกรีต
การลำเลียงคอนกรีตด้วยปั๊มคอนกรีตจะเป็นการลำเลียงที่มีคอนกรีตในปริมาณมาก ๆ และต้องการความรวดเร็ว ทั้งนี้โดยทั่วไปปั๊มคอนกรีตจะมีอยู่ 2 ประเภทคือ

- Mobile pump เป็มปั๊มคอนกรีตที่ติดอยู่กับรถ คุณสมบัติพิเศษของ Mobile pump คือจะสามรถเคลื่อนย้ายได้สะดวกตามที่ต้องการ

- Stationary pump เป็นปั๊มคอนกรีตที่สามารถเคลื่อนย้ายไปได้ตรงจุดที่ลำเลียง แรงดันสูงกว่า Mobile pump แต่การเคลื่อนย้ายในแต่ละครั้งมีความยุ่งยาก



การเทคอนกรีตอย่างถูกวิธี


ตำแหน่งและทิศทางการเท ให้เทเคลื่อนที่ลงในแนวดิ่ง และใกล้จุดที่ต้องการจะเทมากที่สุดลงในแบบหล่อ และหลีกเลี่ยงการทำให้คอนกรีตเคลื่อนที่ในแนวราบ เพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต

ระยะห่างในการเท ไม่ควรเกิน 1.5 เมตร เพื่อให้มั่นใจว่าเทคอนกรีตได้ถูกตำแหน่งที่ต้องการ และเพื่อลดการแยกตัวของคอนกรีต

อัตราการเท ควรเหมาะสมกับอัตราการอัดแน่นคอนกรีต ห้ามเทคอนกรีตใหม่ลงไปในคอนกรีตเก่าที่เทไว้แล้วเกิน 30 นาที หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าจะต้องดำเนินการเทคอนกรีตใหม่ต่อกับคอนกรีตเก่าให้ยังคงมีสภาพเหลวพอที่จะเทต่อกันได้

การเทคอนกรีตควรจะเริ่มเทจากจุดที่ไกล ๆ มาก่อนแล้วค่อยไล่เทจึนมาถึงจุดที่รับคอนกรีต การใช้ปั๊มคอนกรีต จะต้องเทให้ใกล้ตำแหน่งจุดสุดท้ายเท่าที่จะทำได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการแยกตัวอันเนื่องมาจากการโยกย้ายคอนกรีต

ถ้าขณะเทคอนกรีต เกิดฝนตกหนัก และนาน อีกทั้งยังมีคอนกรีตเหลือเทอยู่อีกมาก วิธีแก้ไขคือ นำผ้าใบมาทำเป็นหลังคาชั่วคราว เพื่อไม่ให้หน้าคอนกรีตเสีย หากไม่มีผ้าใบก็ต้องปล่อยให้ฝนชะล้างผิวหน้าคอนกรีต หลังจากนั้นเราจะต้องสกัดผิวหน้าใส่ตะแกรงเหล็กเสริมแล้วเทTopping ทับหน้าอีกชั้น หรือเอาผ้าใบมาคลุมแล้วตัดรอยต่อของพื้นที่ที่เทแล้วเสริมเหล็กที่รอยต่อ แต่ตามหลักการแล้วก่อนทำการเทคอนกรีตควรเตรียมอุปกรณ์ (ผ้า, ใบ, หลังคา) ให้พร้อมสำหรับการใช้งาน ควรดูลักษณะอากาศ หากฝนใกล้ตกควรหลีกเลี่ยงการเท หรือก่อนเทคอนกรีตทุกครั้งควรสั่ง คอนกรีตเป็นช่วง ๆ เพื่อหากเกิดปัญหาจะได้สามารถหยุดเทได้ทันที

ในกรณีรถปูนสำหรับเทคอนกรีตขาดช่วง และมาช้าลดอัตราการเทคอนกรีตลง มาให้เพียงพอ สำหรับการ ควบคุมคุณภาพ หรือหา Plant ปูนอื่นที่ใกล้เคียงนำปูนมาส่งทดแทน

ถ้าจำเป็นต้องเทคอนกรีตในสภาวะที่มีอากาศร้อนวัสดุที่ใช้ผสมคอนกรีตควรฉีดน้ำก่อน หรือใช้น้ำเย็นเป็นส่วนผสมคอนกรีต หรืออาจหลีกเลี่ยงไปเทคอนกรีตตอนกลางคืนก็ได้

บทความโดย : ทีมงานวิศวกรรมอีสาน-ใต้