Concrete Placing Boom ตอนที่ 1

22/06/2020 | 7281

Concrete Placing Boom  ตอนที่ 1

 สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านครับ บทความนี้เขียนขึ้นมาเพื่อแนะนำให้ท่านผู้อ่านมารู้จักเครื่องจักรอีกชนิดหนึ่งที่ผู้รับเหมาและบริษัทรับเหมางานก่อสร้างนิยมนำมาใช้งานในการก่อสร้างอาคารสูง เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายส่วนอื่นบวกกับลดเวลาในการทำงานเทคอนกรีตทั้งในเรื่องความสะดวกสบายในงานเทคอนกรีตของบริษัทก่อสร้างอีกด้วยครับ ส่วนจะลดต้นทุนหรือสะดวกสบายอย่างไรเดี๋ยวจะอธิบายให้ทราบครับ

  ก่อนอื่นผมเชื่อว่าผู้รับเหมาหรือบริษัทรับเหมาก่อสร้างน่าจะรู้จักปั๊มคอนกรีตซึ่งเป็นเครื่องจักรที่ใช้สำหรับลำเลียงส่งคอนกรีตผสมเสร็จตามสูตรและสเป็คที่สามารถส่งลำเลียงคอนกรีตผ่านเครื่องจักรที่เรียกว่า “ปั๊มคอนกรีต” ได้นะครับ โดยคอนกรีตที่จะนำมาใช้นั้น จะต้องมีค่า Slump 7.5 ซม. ขึ้นไป มีความเหลวค่อนข้างมาก และต้องมีส่วนผสมของน้ำยาผสมคอนกรีตชนิดพิเศษเพิ่มเติมเพื่อช่วยหน่วงเวลาไม่ให้คอนกรีตแข็งตัว และช่วยให้เนื้อคอนกรีตมีความเหนียวไม่แยกตัวขณะลำเลียง อีกทั้งมีความลื่นง่ายต่อการเคลื่อนที่ภายในท่อส่งคอนกรีตหินที่ใช้ผสมคอนกรีตจะต้องมีขนาดเล็กและไม่เป็นเหลี่ยมแหลมคม เพื่อลดแรงเสียดทานที่เกิดขึ้น ระหว่างคอนกรีตกับท่อส่งคอนกรีต เพื่อไม่ให้เกิดการอุดตันในท่อส่งคอนกรีตด้วยครับ  ซึ่งมีทั้ง

  1.ปั๊มบูม (Boom Pump)

1.jpg

Boom Pump

2.jpg

Boom Pump

  2.ปั๊มลาก (Moli Pump /Line Pump / Stationary Pump)

3.jpg

Moli Pump / Line Pump

4.jpg

Stationary Pump

    และทุกท่านคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าพื้นที่ในการก่อสร้างอาคารสูงในเมืองใหญ่ค่อนข้างที่จะมีพื้นที่จำกัด เข้าใจง่าย ๆ คือถ้ามีการก่อสร้างอาคารสูงและมีการเทคอนกรีตโดยใช้รถปั๊มคอนกรีตประเภทปั๊มบูม อาคารสูงขึ้นก็ต้องใช้ปั๊มบูมที่มีความยาวบูมที่สูงขึ้น (จากข้อมูลที่ผู้เขียนทราบมาขณะนี้ประเทศไทยของเรามีปั๊มบูมยาวที่สุดอยู่ที่ 43 เมตร) ซึ่งทุกท่านก็ต้องทำความเข้าใจตามด้วยนะครับว่า ความยาวบูมยิ่งสูงขึ้นไปพื้นที่ตั้งตัวปั๊มคอนกรีตระยะการตั้งขาปั๊มคอนกรีตก็ต้องการพื้นที่เยอะพอสมควร ซึ่งเกี่ยวพันกับเรื่องความปลอดภัยที่วิศวกรของเครื่องจักรในแต่ละรุ่น ได้คำนวณไว้แล้วในการออกแบบ และในคราวนี้แหละครับที่ทางผู้รับเหมาจะหันมาเลือกใช้อีกทางเลือกหนึ่งคือหันมามองการใช้งานเทคอนกรีตผ่านตัวปั๊มลากซึ่งมีคุณสมบัติในการใช้พื้นที่ตั้งปั๊มแคบกว่าตัวปั๊มบูมและสามารถส่งคอนกรีตได้ไกลและสูงกว่าตัวปั๊มบูม (ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องขึ้นกับตัวสเป็คของเครื่องจักรด้วยนะครับ) โดยการต่อท่อส่งคอนกรีตเพื่อส่งคอนกรีตไปยังจุดที่ต้องการได้ แต่ก็จะเสียเวลาในการต่อท่อส่งคอนกรีตไปยังจุดที่ต้องการได้และทางผู้รับเหมาอาจจะมีค่าใช้จ่ายในการต่อท่อส่งคอนกรีตอีกขึ้นอยู่กับสัญญาซื้อขายของบริษัทปั๊มคอนกรีตอีกต่างหาก (ถ้ามีนะครับ)  ทีนี้ล่ะครับผู้เขียนจะแนะนำอีกทางเลือกหนึ่งซึ่งเป็นเครื่องจักรที่ใช้ในงานก่อสร้างที่จะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความสะดวกสบายในงานเทคอนกรีต ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วนั่นคือ เพลสซิ่งบูม (Concrete Placing Boom  )  ซึ่งจะได้นำเสนอในครั้งต่อไป โปรดติดตามกันด้วยนะครับ

5.jpg

6.jpg

CONCRETE PLACING BOOM




บทความจาก PST Group
https://www.youtube.com/channel/UC29BiULmgDvqT8N17RIuM1