ชนิดและหน้าที่ของแก๊สปกคลุมการเชื่อมไฟฟ้าสำหรับงานเชื่อมและประกอบรถปั๊มคอนกรีต

21/06/2020 | 4728

ชนิดและหน้าที่ของแก๊สปกคลุมการเชื่อมไฟฟ้า สำหรับงานเชื่อมและประกอบรถปั๊มคอนกรีต

    ลักษณะกระบวนการเชื่อมมิก/แม็ก หมายถึง กระบวนการเชื่อมที่ใช้ลวดเชื่อมเปลือยขนาดเล็กที่ส่งเพื่อให้เกิดการอาร์กทางไฟฟ้า ความร้อนจากการอาร์กจะหลอมเหลวผิวโลหะชิ้นงานและปลายลวดเชื่อมให้เป็นหยดโลหะถ่ายโอนสู่บ่อหลอมเหลวของรอยเชื่อม โดยที่บ่อหลอมเหลวจะถูกปกคลุมไว้ด้วยแก๊สปกคลุม เพื่อป้องกันไม่ให้ออกซิเจนหรือแก๊สอื่นๆ เข้าไปทำปฏิกิริยากับน้ำโลหะเหลว ซึ่งจะทำให้โลหะที่เชื่อมประสานเป็นโลหะที่ไม่บริสุทธ์ ซึ่งจะทำให้ความต้านทานแรงดันของรอยเชื่อมไม่แข็งแรง

  ชนิดของแก๊สปกคลุมแนวเชื่อมและการนำไปใช้งาน สำหรับงานเชื่อมและประกอบรถปั๊มคอนกรีต มีดังนี้
    1) แก๊สอาร์กอน (Ar)
สมบัติของแก๊สอาร์กอน มีดังนี้
• มีความต่างศักย์ต่ำ
• เหมาะสำหรับการเชื่อมโลหะที่ผิวเป็นออกไซด์ได้ง่าย เช่นอะลูมิเนียมอะลูมิเนียมผสม และโลหะผสมที่มีส่วนผสมของอะลูมิเนียมอยู่มาก
• การเริ่มต้นอาร์กทำได้ง่ายคงที่มากกว่าใช้แก๊สฮีเลียม
• ปริมาตรแก๊สต่ำ มีน้ำหนักมากกว่าอากาศ จึงใช้แก๊สน้อยในการปกคลุมเมื่อเทียบกับฮีเลียม
• มีในบรรยากาศประมาณ 0.94%
• ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่ติดไฟ
แก๊สอาร์กอนเป็นแก๊สที่นิยมใช้กันมาก เพราะ
• มีการนำความร้อนต่ำ
• เปลวอาร์กที่เกิดจะแคบแต่มีความเข้มสูง
• ทำให้ชิ้นงานได้รับพลังงานความร้อนสูง
• ลักษณะของรอยเชื่อมจะแคบแต่มีการหลอมลึกสูง

    2) แก๊สอีเลียม (He)
สมบัติของแก๊สฮีเลียมมี ดังนี้
• ความต่างศักย์สูง ให้ความร้อนสูงใช้ในการเชื่อมชิ้นงานที่หนามากกว่า 4.8 มม. และโลหะที่ทนต่อความร้อนสูงๆ
• แนวช่องในการรับความร้อนแคบ โดยที่มีความเร็วในการเชื่อมสูง จึงทำให้ชิ้นงานเกิดการเปลี่ยนแปลงน้อย โดยส่งผลให้ชิ้นงานมีสมบัติทางกลสูง
• แก๊สมีปริมาตรสูง มีน้ำหนักเบามากกว่าอากาศ

liuopuiou

รูปที่1 รูปแสดงการเชื่อมไฟฟ้าที่ใช้แก๊สปกคลุมในการเชื่อมสำหรับประกอบรถปั๊มคอนกรีต





บทความจาก PST Group
https://www.youtube.com/channel/UC29BiULmgDvqT8N17RIuM1