การเช็ควาล์วเครื่องยนต์ 6 สูบเรียง

12/06/2020 | 7517

การเช็ควาล์วเครื่องยนต์ 6 สูบเรียง 
แบบเรียงลำดับการจุดระเบิดของเครื่องยนต์

     การเช็ควาล์ว คือ การปรับตั้งระยะห่างของวาล์วให้ได้ค่ามาตรฐานตามที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ ซึ่งในการให้งานของเครื่องยนต์ย่อมมีการสึกหรอกตามระยะการใช้งานอยู่แล้ว วาล์วไอดี-ไอเสีย ก็เช่นกัน ย่อมต้องมีการสึกหรอก ในการเช็ควาล์ว แบบเรียงลำดับการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ นั้นต้องรู้ถึงลำดับการจุดระเบิด โดยผู้ผลิตจะระบุไว้บริเวณฝาครอบวาล์ว
     

     โดยเครื่องยนต์แบบ 6 สูบเรียง ส่วนใหญ่โดยทั่วไป ลำดับการจุดระเบิด จะเป็น 1-5-3-6-2-4

ไอดี

ไอเสีย

     และที่สำคัญในการเช็ควาล์ว คือ ขนาดของฟิลเลอร์เกจ ที่จะใช้ในการปรับตั้งวาลว์ไอดี – ไอเสีย ซึ่งผู้ผลิตจะระบุไว้ในคู่มือ และ บนฝาครอบวาล์ว โดยจะระบุ ขนาดของฟิลเลอร์เกจ ทั้ง ไอดี - ไอเสีย
เช่น ตามที่ระบุไว้ในคู่มือ ไอดี 0.2mm ไอเสีย 0.5mm

    เมื่อถอกฝากครอบวาล์วออกมาแล้ว ให้สังเกต กระเดื่องกดวาล์ว ว่าเป็นกระเดื่องกดวาล์ว ไอดี หรือ ไอเสีย โดยสังเกตจาก ท่อร่วมไอดีจะตรงกันกับกระเดื่องกดวาล์วไอดี สำหรับ ไอเสียก็เช่นกัน จะตรงกัน โดยขนาดของกระเดื่องกดวาล์วไอดีจะมีขนาดที่ใหญ่กว่ากระเดื่องวาล์วไอเสีย เรียงตามกันไปในแต่ระสูบ

หมุนเครื่องยนต์ ตามเข็มนาฬิกา ซึ่งจะหมุนตามการทำงานของเครื่องยนต์

     ทำการหมุนเครื่องยนต์ เพื่อให้ลูกสูบเคลื่อนที่ เปลี่ยนแปลงจังหวะ ของแต่ละสูบตามที่ต้องการ ที่จะทำการเช็ควาล์ว

     โดยดูจากสูบที่ขึ้นลงพร้อมกัน 1คู่6 2คู่5 3คู่4 แต่จังหวะการทำงานไม่เหมือน ยกตัวอย่างเช่น สูบที่ 1 เป็นจังหวะจุดระเบิดหรือจังหวะอัดสุด ในจังหวะนี้ วาล์วทั้ง 2 ข้างจะปิดสนิท ทำให้สามารถทำการเช็ควาล์วได้ และส่วนในสูบที่ 6 นั้นจะอยู่ในจังหวะโอเวอร์แลป โดยวาล์วทั้ง 2 ข้างยังเปิดอยู่พร้อมกัน ทำให้ไม่สามารถเช็ควาล์วได้

การดูตำแหน่งจังหวะในการเช็ควาล์ว ในขณะหมุนเครื่องยนต์


      ยกตัวอย่างจากภาพ เช็ควาล์วในสูบที่ 4 โดยดูจังหวะโอเวอร์แลป จากสูบตรงข้ามคือ สูบที่ 3 โดยดูจากกระเดื่องวาล์วไอดีเริ่มกด เพราะจังหวะโอเวอร์แลปจะเกินขึ้นตอนที่เกือบจะสิ้นสุดจังหวะคายไอเสียและกำลังเริ่มต้นในจังหวะดู

     เมื่อหมุนเครื่องยนต์ จนอยู่ในจังหวะที่สามารถที่จะทำการปรับตั้งวาล์วได้แล้ว ให้ทำการสอดฟิลเลอร์เกจ เข้าไปเช็คระยะห่างของวาล์วโดยจะเช็ค วาล์วไอดี – วาล์วไอเสีย ก่อนก็ได้ และจะสอดฟิลเลอร์เกจให้ตรงตามความหนา ที่ผู้ผลิตระบุไว้ เมื่อพบว่า ระยะห่างของวาล์วมากเกินไป โดยจะต้องทำการเช็ควาล์ว ให้คลายน็อตล็อคสกรูปรับตั้งวาล์ว แล้วทำการปรับตั้งวาล์วโดยเสียบไขควงแบนไปที่หัวสกรูปรับตั้งวาล์ว ขันเข้าจะทำให้ระยะห่างของวาล์วแคบลง ขันออกจะทำให้เพิ่มระยะห่างของวาล์ว โดยทดสอบความห่างด้วยฟิลเลอร์เกจ ตำแหน่งที่ถูกต้องในการตั้งคือจะรู้สึกว่ามีความฝืดตึงๆมือนิดหน่อยแต่ไม่หลวมให้รู้สึกว่ามีการสัมผัสทั้งด้านบนและล่างของแผ่นฟิลเลอร์เกจ ตรงนี้อธิบายลำบากหน่อยไอ้ฝืดๆหลวมๆ เอาเป็นว่าอย่าให้หลวมจนไม่สัมผัสและไม่ฝืดจนเลื่อนแผ่นฟิลเลอร์เกจไม่ได้ เมื่อตั้งวาล์วเสร็จแล้วให้ขันน็อตล็อคสกรูปรับตั้งวาล์ว ควรระวังสกรูปรับวาล์วหมุนตามด้วยในระหว่างการขันน็อตล็อค   ทำการปรับวาล์วในจังหวะอัดสุด ทั้งไอดี –ไอเสีย ตามลำดับการจุดระเบิด จนคบทั้ง 6 สูบ

     เมื่อปรับตั้งวาล์วเสร็จแล้วทำการปิดฝาครอบวาล์ว แต่ก่อนที่จะทำการปิดฝาครอบวาล์วนั้นควรทำความสะอาจซีลยางฝาครอบวาล์วด้วยและควรตรวจสอบซีลยางว่าอยู่ในสภาพปกติ สามารถกันน้ำมันเครื่องที่จะไหลขึ้นหล่อลื่นชิ้นส่วนด้านบนเครื่องยนต์ ทำการปิดฝาครอบวาล์ว ใส่น็อตยึดฝาครอบวาล์ว ขันน็อตให้ตึงมือพอประมาณ ทุกตัว แล้วอัดน็อตอีกครั้งด้วยประแจปอนด์ หรือ ประแจทอร์ค โดยค่าแรงขันจะขึ้นกับตัวน็อต และ ลักษณะของฝาครอบวาล์วว่าเป็นวัสดุแบบใด ควรศึกษาถึงวิธีการอย่างถูกต้อง


     นี่ก็เป็นวิธีการเช็ควาล์วเครืองยนต์ 6 สูบเรียงอย่างถูกวิธี สำหรับรถปั๊มคอนกรีต ของบริษัท พี แมชโปร จำกัด ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านรถปั๊มคอนกรีตและปั๊มคอนกรีต ทั้งในด้านการให้บริการหลังการขายและศูนย์บริการซ่อมบำรุงมาตรฐานที่มีทีมงานช่างผู้เชี่ยวชาญในการซ่อมบำรุงรถปั๊มคอนกรีตโดยเฉพาะ






บทความจาก PST Group
https://www.youtube.com/channel/UC29BiULmgDvqT8N17RIuM1