อุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับ เครื่องพ่นปูนฉาบ Koine3 ไฟ Single Phase

09/06/2020 | 5407

อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับครื่องพ่นปูนฉาบ Koine3 ไฟ Single Phase

pstgroup.biz_koine3_1

     เครื่องพ่นปูนฉาบที่ใช้ไฟบ้าน หรือ ไฟ 220โวลท์ ต้องถูกออกแบบโดยคำนึงถึงความเพียงพอของไฟฟ้า เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่าหน้างานก่อสร้าง อาจมีความพร้อมด้านไฟฟ้าจำกัด และหากเครื่องพ่นปูนฉาบ ออกแบบโดยใช้มอร์เตอร์ไฟฟ้า Single Phase ก็จะไม่เหมาะสมกับการใช้งานเพราะมอร์เตอร์ Single Phase เป็นมอร์เตอร์ที่มีขนาดใหญ่มาก การใช้มอร์เตอร์ 3 เฟส และเดินเครื่องเป็น Single Phase ทำงานร่วมกับ อินเวอร์เตอร์ก็เป็นแนวทางที่ผู้ออกแบบเครื่องเลือกใช้

อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับเครื่องพ่นปูนฉาบ Single Phase ที่สำคัญ ได้แก่

1. มอร์เตอร์ต่างๆ

pstgroup.biz_koine3_2

      2.อินเวอร์เตอร์ (Inverter)
อินเวอร์เตอร์ ทำหน้าที่แปลงไฟกระแสสลับ (AC) จากแหล่งจ่ายไฟทั่วไปที่มีแรงดันและความถี่คงที่ ให้เป็นไฟกระแสตรง (DC) โดยวงจรคอนเวอร์เตอร์ ( Converter Circuit ) จากนั้นไฟกระแสตรงจะถูกแปลงเป็นไฟกระแสสลับที่สามารถปรับขนาดแรงดันและความถี่ได้โดยวงจรอินเวอร์เตอร์ (Inverter Circuit) วงจรทั้งสองนี้จะเป็นวงจรหลักที่ทำหน้าที่แปลงรูปคลื่น และผ่านพลังงานของอินเวอร์เตอร์ เพื่อใช้ขับมอร์เตอร์ต่อไป

pstgroup.biz_koine3_3

โครงสร้างภายในของInverter
1. ชุดคอนเวอร์เตอร์ (Converter Circuit) ซึ่งทำหน้าที่ แปลงไฟสลับจากแหล่งจ่ายไฟ AC. power supply (50 Hz) ให้เป็นไฟตรง (DC Voltage)
2. ชุดอินเวอร์เตอร์ (Inverter Circuit) ซึ่งทำหน้าที่ แปลงไฟตรง (DC Voltage) ให้เป็นไฟสลับ (AC Voltage) ที่สามารถเปลี่ยนแปลงแรงดันและความถี่ได้
3. ชุดวงจรควบคุม (Control Circuit) ซึ่งทำหน้าที่ ควบคุมการทำงานของชุดคอนเวอร์เตอร์ และชุดอินเวอร์เตอร์

pstgroup.biz_koine3_4

     อินเวอร์เตอร์ จะควบคุมความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับโดยใชัหลักการควบคุมความถี่ของแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ เพื่อต้องการให้แรงบิด (Torque) คงที่ทุกๆ ความเร็วที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้การพ่นปูนฉาบยังคงต่อเนื่องได้อย่างดี

การควบคุมมอเตอร์ของอินเวอร์เตอร์
   1. การสตาร์ท
ทำได้โดยให้สัญญาณตั้งความถี่แก่อินเวอร์เตอร์ด้วยความถี่สตาร์ท มอเตอร์ก็จะผลิตแรงบิด จากนั้นอินเวอร์เตอร์จะค่อย ๆ เพิ่มความถี่ขึ้นไป  จนกระทั่งแรงบิดของมอเตอร์สูงกว่าแรงบิดของ โหลด มอเตอร์จึงเริ่มหมุน

   2. การเร่งความเร็วและการเดินเครื่องด้วยความเร็วคงที่
หลังจากสตาร์ทอินเวอร์เตอร์และมอเตอร์แล้ว ความถี่ขา ออกจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น จนถึงความถี่ที่ต้องการ ช่วงเวลาในการเพิ่มความถี่นี้คือเวลาการเร่งความเร็ว และเมื่อความ ถี่ขาออกเท่ากับความถี่ที่ต้องการ การเร่งความเร็วก็จบ อินเวอร์เตอร์จะเข้าสู่การทำงานในช่วงเวลาการเดินเครื่อง ด้วยความเร็วคงที่

   3. การลดความเร็ว
ทำได้โดยตั้งความถี่ให้ต่ำกว่าความถี่ขาออก อินเวอร์เตอร์จะลดความถี่ลงมาเรื่อย ๆ ตามช่วง เวลาการลดความเร็วที่ได้ตั้งไว้ ในขณะลดความถี่ ความเร็วรอบของมอเตอร์จะมีค่ามากกว่าความถี่ขาออกของอินเวอร์เตอร์ มอเตอร์จะทำงาน เหมือนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ผลิต
ไฟจ่ายกลับไปให้อินเวอร์เตอร์ (regeneration) ทำให้แรงดันไฟตรง (แรงดัน คร่อมคอนเดนเซอร์) มีค่าเพิ่มขึ้น ดังนั้นภายในอินเวอร์เตอร์จะมีวงจรที่ทำหน้าที่รับพลังงานที่เกิดจากการ regeneration ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดการเบรคมอเตอร์ วงจรนี้เรียกว่า วงจรเบรคคืนพลังงาน
ในช่วงการลดความเร็วจะทำงานในลักษณะนี้หลาย ๆ ครั้ง ถ้าพลังงานมีค่าน้อย (แรงบิดที่จำเป็นสำหรับการลด ความเร็วมีขนาดเล็ก) อัตราการใช้งานวงจรเบรคก็จะต่ำ บางครั้งอาจจะไม่ทำงานเลยก็มี
อัตราการใช้งานวงจรเบรคนี้ ได้รับการออกแบบโดยการพิจารณาในแง่ของการระบายความร้อนไว้ที่ 2-3 % เท่านั้น ถ้ามีการใช้เบรคบ่อย หรือใช้เบรคนานเกินไป จะทำให้เกิดปัญหาการระบายความร้อนของตัวต้านทาน และอาจ ทำให้อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่สวิทช์์เสื่อมได้

   4. การหยุด
อินเวอร์เตอร์จะลดความถี่ลงจนถึงระดับหนึ่ง และจะผลิตไฟตรงเข้าไปในมอเตอร์เพื่อทำงานเป็นเบรค จนมอเตอร์หยุด เรียกว่า การเบรคด้วยไฟตรง

วงจรไฟฟ้าของอินเวอร์เตอร์ ในเครื่องพ่นปูนฉาบ รุ่น Koine3

pstgroup.biz_koine3_5

Electronic Board

 Inverter Wiring

pstgroup.biz_koine3_6

pstgroup.biz_koine3_7

pstgroup.biz_koine3_8

pstgroup.biz_koine3_9

pstgroup.biz_koine3_10

pstgroup.biz_koine3_11

pstgroup.biz_koine3_12

pstgroup.biz_koine3_13

pstgroup.biz_koine3_14






บทความจาก PST Group
https://www.youtube.com/channel/UC29BiULmgDvqT8N17RIuM1