มาตรฐานIPกับการเลือกใช้Power-Plugสำหรับเครื่องพ่นปูนฉาบ

26/05/2020 | 6847

มาตรฐาน IP กับการเลือกใช้ Power Plug สำหรับเครื่องพ่นปูนฉาบ

     การใช้เครื่องพ่นปูนฉาบ แน่นอนว่า ทำให้ผู้ใช้หรือช่าง มีความกังวลไม่น้อย เนื่องจากเครื่องใช้งานด้วยไฟฟ้า และเครื่องยังต่อสายน้ำ เข้ามาในขณะทำงานด้วย บางจุดใช้งานเครื่องพ่นปูนฉาบยังต้องวางอยู่ ในพื้นที่กำลังก่อสร้าง ซึ่งเปียก แฉะ อาจมีความเสี่ยงจาก มีของตก หรือช่างท่านอื่นเข็นรถเข็นผ่าน เป็นต้น


     การเลือกใช้ เพาเวอร์ปลั๊ก นับว่ามีความสำคัญ สำหรับการใช้งานกับเครื่องพ่นปูนฉาบอย่างยิ่ง ทำให้เราต้องทราบรายละเอียดในการเลือกใช้ เพาเวอร์ปลั๊ก

        ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้ Power Plug

   1. Specification ของระบบไฟฟ้าของเครื่อง

      จะถูกกำหนดมาจากผู้ผลิตเครื่องพ่นปูนฉาบ ซึ่งเราสามารถหาข้อมูลได้จาก คู่มือ หรือ Manual ที่แนบมากับเครื่อง โดยต้องเลือกใช้ ขนาดของ Power Plug ให้ตรงกับขนาด Amp เช่น 3x32 A และขนาดของสายไฟก็จะถูกแนะนำมาเช่นกัน เช่น 4x4mm. ภาพตัวอย่าง เลือก 3P,4P,5P และ Amp 16,32 หรือ 64

  2. มาตรฐาน IP ของ Power Plug

       มาตรฐาน IP ชื่อเต็ม International Protection Standard ตามมาตรฐาน IEC 60529 หรือเป็น Ingress Protection Rating คือมาตรฐานที่บอกถึงระดับการป้องฝุ่นและน้ำของเครื่องจักร (mechanical casings) และอุปกรณ์ไฟฟ้า (electrical enclosures) ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดย IEC (International Electrotechnical Commission) เทียบเท่ากับมาตรฐานยุโรป EN 60529 G เช่น

      IP47

4 คือค่าของ ของเหลง    /    7 คือค่าของ ของแข็ง
IPxx หลักแรก        หมายถึง        ระดับการป้องกันของฝุ่นหรือการสัมผัสโดยบังเอิญ ซึ่งจะมีระดับตั้งแต่ 0-6
IPxx หลักที่สอง      หมายถึง        ระดับการป้องกันน้ำ ซึ่งจะมีระดับตั้งแต่ 0-9  

รายละเอียดรหัส IP
  สัญลักษณ์ IP
การป้องกันของแข็ง
การป้องกันของเหลว
การทนต่อแรงกระแทก
การป้องกันอื่นๆ
IP
ตัวเลข 0-6
ตัวเลข 0-9
ตัวเลข 0-9
ตัวอักษร
จำเป็นต้องระบุ
จำเป็นต้องระบุ
จำเป็นต้องระบุ
ยกเลิกการใช้แล้ว
ไม่จำเป็นต้องระบุ


ตัวเลขหลักที่ 1 : การป้องกันของแข็ง

  หมายถึง การป้องกันการเข้าถึง(เข้าไปในตัวอุปกรณ์) ของฝุ่นหรือการสัมผัสโดยบังเอิญเท่านั้น ไม่รวมถึงการกระแทกจากของแข็งซึ่งการทนต่อแรงกระแทกนั้นจะบอกในตัวเลขหลักที่ 3 ของมาตรฐาน IP และปัจจุบันได้ยกเลิกการใช้แล้ว โดยการป้องกันของแข็งจะมีทั้งหมด 7 ระดับ ตั้งแต่ระดับ 0-6 ดังนี้
ระดับ
รายละเอียด
0
ไม่มีการป้องกันใดๆ


1
ป้องกันของแข็งที่มีขนาดตั้งแต่ 50 mm ขึ้นไป
ยกตัวอย่าง ป้องกันการสัมผัสตัวอุปกรณ์โดยไม่ตั้งใจจากมือหรือส่วนอื่นๆของร่างกาย
2
ป้องกันของแข็งที่มีขนาดตั้งแต่ 12 mm ขึ้นไป
ยกตัวอย่าง ป้องกันการสัมผัสตัวอุปกรณ์โดยไม่ตั้งใจจากนิ้วมือหรือเครื่องมืออื่นๆที่มีขนาดใกล้เคียงกัน
3
ป้องกันของแข็งที่มีขนาดตั้งแต่ 2.5 mm ขึ้นไป
ยกตัวอย่าง ป้องกันการสัมผัสตัวอุปกรณ์โดยไม่ตั้งใจจากไขควงหรือเครื่องมืออื่นๆที่มีขนาดใกล้เคียงกัน
4
ป้องกันของแข็งที่มีขนาดตั้งแต่ 1 mm ขึ้นไป
ยกตัวอย่าง ป้องกันการสัมผัสตัวอุปกรณ์โดยไม่ตั้งใจจากสายไฟ, เส้นลวด, ไขควงขนาดเล็ก, แมลงบางชนิดหรือ
เครื่องมืออื่นๆที่มีขนาดใกล้เคียงกัน
5
ป้องกันฝุ่นได้แต่อาจมีฝุ่นเล็กน้อยเล็ดลอดเข้าไปโดยฝุ่นที่เล็ดลอดเข้าไปนั้นต้องไม่มีผลใดๆต่อการ
ทำงานของอุปกรณ์
ยกตัวอย่าง ส่วนใหญ่มาตรฐาน IP นี้จะอยู่ในเครื่องมือวัดแบบพกพาหรืออุปกรณ์ที่ใช้เป็นครั้งคราวโดยฝุ่นอาจเล็ดลอด
เข้าไปได้จากฝาปิดแบตเตอรี่แต่เนื่องด้วยเวลาการใช้งานที่สั้นจึงทำให้ฝุ่นแถบจะเข้าไปไม่ได้เลย
6
ป้องกันฝุ่นได้สมบูรณ์ โดยมาตรฐานนี้ถูกทดสอบบนพื้นที่ที่มีการไหลเวียนของอากาศและฝุ่นเป็นเวลา 8 ชั่วโมง
ยกตัวอย่าง ส่วนใหญ่มาตรฐาน IP นี้จะอยู่ในเครื่องมือวัดแบบติดตั้งหรืออุปกรณ์อื่นๆที่ถูกใช้งานในพื้นที่ตลอดเวลา


ตัวเลขหลักที่ 2 : การป้องกันของเหลว

   หมายถึง ของเหลวจำพวกน้ำเท่านั้น ไม่รวมถึงของเหลวประเภทอื่นๆเช่น น้ำมัน, สารเคมีที่มีความเป็นกรดหรือด่างสูง, ฯลฯ โดยการป้องกันมีทั้งหมด 11 ระดับ ตั้งแต่ระดับ 0-9K ดังนี้
ระดับ
รายละเอียด
0
ไม่มีการป้องกันใดๆ
1
ป้องกันหยดน้ำที่ตกกระทบในแนวตั้งกับตัวอุปกรณ์เท่านั้น
ทดสอบโดย ปล่อยหยดน้ำในแนวตั้งปริมาณเทียบเท่าสายฝนขนาด 1 mm/min เป็นเวลา 10 นาที
2
ป้องกันหยดน้ำที่ตกกระทบในแนวเฉียงรอบตัวอุปกรณ์ได้ทำมุมสูงสุด 15 องศาจากแนวตั้ง
ทดสอบโดย ปล่อยหยดน้ำในแนวเฉียงปริมาณเทียบเท่าสายฝนขนาด 3 mm/min เป็นเวลา 2.5 นาที/ด้าน
(รวมทั้งหมด 10 นาที) โดยทดสอบทั้งหมด 4 ด้านคือ ด้านซ้าย, ด้านขวา, ด้านหน้าและด้านหลังของตัวอุปกรณ์
3
ป้องกันละอองน้ำที่ตกกระทบในแนวเฉียงรอบตัวอุปกรณ์ได้ทำมุมสูงสุด 60 องศาจากแนวตั้ง
ทดสอบโดย ใช้หัวฉีดสเปรย์ (Spray Nozzle) ฉีดไปที่อุปกรณ์โดยมีแผ่นป้องกันน้ำ(เพื่อให้ได้มุมทดสอบ)
ด้วยแรงดัน 50-150 kPa และอัตราการไหล 10 l/min เป็นเวลา 1 นาทีต่อพื้นที่อุปกรณ์ 1 m2 โดยใช้เวลาในการทดสอบ
ทั้งหมดอย่างน้อย 5 นาที 
4
ป้องกันละอองน้ำที่ตกกระทบตัวอุปกรณ์ได้จากทุกทิศทาง
ทดสอบโดย ใช้หัวฉีดสเปรย์ (Spray Nozzle) ฉีดรอบตัวอุปกรณ์ด้วยแรงดัน 50-150 kPa และอัตราการไหล 10 l/min
เป็นเวลา 1 นาทีต่อพื้นที่อุปกรณ์ 1 m2 โดยใช้เวลาในการทดสอบทั้งหมดอย่างน้อย 5 นาที
5
ป้องกันน้ำจากการฉีดที่ตัวอุปกรณ์ได้จากทุกทิศทาง
ทดสอบโดย ใช้หัวฉีด (Nozzle) ขนาด 6.3 mm ฉีดรอบตัวอุปกรณ์ด้วยแรงดัน 30 kPa ที่ระยะห่าง 3 m และอัตราการไหล
12.5 l/min เป็นเวลา 1 นาทีต่อพื้นที่อุปกรณ์ 1 m2 โดยใช้เวลาในการทดสอบทั้งหมดอย่างน้อย 3 นาที
6
ป้องกันน้ำจากการฉีดแบบรุนแรงที่ตัวอุปกรณ์ได้จากทุกทิศทาง
ทดสอบโดย ใช้หัวฉีด (Nozzle) ขนาด 12.5 mm ฉีดรอบตัวอุปกรณ์ด้วยแรงดัน 100 kPa ที่ระยะห่าง 3 m
และอัตราการไหล 100 l/min เป็นเวลา 1 นาทีต่อพื้นที่อุปกรณ์ 1 m2 โดยใช้เวลาในการทดสอบทั้งหมดอย่างน้อย 3 นาที
6K
ป้องกันน้ำจากการฉีดแรงดันสูงที่ตัวอุปกรณ์ได้จากทุกทิศทาง
ทดสอบโดย ใช้หัวฉีด (Nozzle) ขนาด 6.3 mm ฉีดรอบตัวอุปกรณ์ด้วยแรงดัน 1,000 kPa ที่ระยะห่าง 3 m
และอัตราการไหล 75 l/min เป็นเวลา 1 นาทีต่อพื้นที่อุปกรณ์ 1 m2 โดยใช้เวลาในการทดสอบทั้งหมดอย่างน้อย 3 นาที
7
ป้องกันการแทรกซึมของน้ำจากการแช่ตัวอุปกรณ์ในน้ำได้ที่ความลึกสูงสุด 1 m เป็นระยะเวลาสูงสุด 30 นาที
การทดสอบ ในกรณีที่เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กจะแช่ตัวอุปกรณ์ลงในน้ำที่ความลึก 1,000 mm โดยวัดจากจุดต่ำสุด
ของตัวอุปกรณ์ถึงผิวน้ำ ในกรณีที่เป็นอุปกรณ์ขนาดใหญ่จะแช่ตัวอุปกรณ์ลงในน้ำที่ความลึก 150 mm
โดยวัดจากจุดสูงสุดของตัวอุปกรณ์ถึงผิวน้ำ เป็นระยะเวลา 30 นาที ทั้ง 2 กรณี
8
ป้องกันการแทรกซึมของน้ำจากการแช่ตัวอุปกรณ์ในน้ำได้แบบถาวร
การทดสอบ เนื่องจากระยะความลึกในการใช้งานของอุปกรณ์แต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน การทดสอบของมาตรฐาน IP นี้
จะขึ้นอยู่กับโรงงานผู้ผลิตโดยตรงซึ่งโรงงานผู้ผลิตจะระบุความลึกสูงสุดในการใช้งานของอุปกรณ์มาด้วย
9K
ป้องกันน้ำจากการฉีดแรงดันสูงพิเศษที่ตัวอุปกรณ์ได้จากทุกทิศทาง ที่อุณหภูมิน้ำสูงสุด 80 °C
ทดสอบโดย ใช้หัวฉีด (Nozzle) ฉีดรอบตัวอุปกรณ์ 4 ตำแหน่งคือทำมุม 0, 30, 60, 90 องศาจากแนวตั้งของอุปกรณ์
ที่ระยะห่าง 100-150 mm ด้วยแรงดัน 8-10 MPa และอัตราการไหล 14-16 l/min ที่อุณหภูมิน้ำ 80 °C เป็นเวลา
ตำแหน่งละ 30 วินาที (รวมทั้งหมด 2 นาที)


การป้องกันอื่นๆ

   นอกเหนือจากการป้องกันฝุ่นและน้ำแล้วยังมีการป้องกันอื่นๆเพิ่มเติมอีก โดยการป้องกันอื่นๆนั้นจะใช้สัญลักษณ์ตัวอักษรต่อท้ายหมายเลข IP โดยต้องมีการกำหมดมาจากโรงงานผู้ผลิตว่าต้องระวังเรื่องต่างๆ ดังนี้
สัญลักษณ์
รายละเอียด
F
ป้องกันน้ำมัน
H
ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงดันสูง (High voltage device)
M
อุปกรณ์มีการเคลื่อนที่ขณะทดสอบการป้องกันน้ำ
S
อุปกรณ์ไม่มีการเคลื่อนที่ขณะทดสอบการป้องกันน้ำ
W
ทนต่อสภาพอากาศทางธรรมชาติ


ตัวอย่าง การเลือกใช้ IP แบบต่างๆ ได้แก่ 

IP54 คือ Power Plug ตัวนั้นๆ สามารถป้องกันฝุ่นได้แต่อาจมีฝุ่นเล็กน้อยเล็ดลอดเข้าไป
โดยฝุ่นที่เล็ดลอดเข้าไปนั้นต้องไม่มีผลใดๆต่อการทำงานของอุปกรณ์และสามารถป้องกันละอองน้ำที่ตกกระทบตัว Power Plug ได้จากทุกทิศทาง

IP65 คือ Power Plug ตัวนั้นๆ สามารถป้องกันฝุ่นได้สมบูรณ์ และสามารถป้องกันน้ำจากการฉีดที่ตัว Power Plug ได้จากทุกทิศทาง

IP66 คือ Power Plug ตัวนั้นๆ สามารถป้องกันฝุ่นได้สมบูรณ์ และสามารถป้องกันน้ำจากการฉีดแบบรุนแรงที่ตัวอุปกรณ์ได้จากทุกทิศทาง

IP66K คือ Power Plug ตัวนั้นๆ สามารถที่จะป้องกันฝุ่นได้สมบูรณ์ และสามารถที่จะป้องกันน้ำจากการฉีดแรงดันสูงที่ตัว Power Plug ได้จากทุกทิศทาง

IP67 คือ Power Plug ตัวนั้นๆ ความสามารถที่จะป้องกันฝุ่นได้สมบูรณ์ และสามารถป้องกันการแทรกซึมของน้ำจากการแช่ตัว Power Plug ในน้ำที่ความลึกสูงสุด 1 m เป็นระยะเวลาสูงสุด 30 นาที

IP68 คือ Power Plug ตัวนั้นๆ สามารถที่จะป้องกันฝุ่นได้สมบูรณ์ และสามารถที่จะป้องกันการแทรกซึมของน้ำจากการแช่ตัวอุปกรณ์ในน้ำได้แบบถาวร

IP69K คือ Power Plug ตัวนั้นๆ สามารถที่จะป้องกันฝุ่นได้สมบูรณ์ และสามารถป้องกันน้ำจากการฉีดแรงดันสูงพิเศษที่ตัวอุปกรณ์ได้จากทุกทิศทาง ที่อุณหภูมิน้ำสูงสุด 80 °C



บทความจาก PST Group
https://www.youtube.com/channel/UC29BiULmgDvqT8N17RIuM1