มาตรฐานของสีสายไฟที่ใช้กับไฟฟ้าอาคารและรถยนต์ที่ช่างไฟฟ้าควรรู้

12/09/2021 | 4662

ฉนวนของสีสายไฟฟ้าภายในอาคารบ้านเรือน สีของฉนวนหุ้มสายไฟ 1 เฟส 220V หรือที่บาวท่านเรียกว่า SINGLE PHASE สีของฉนวนมาตรฐานเดิม เส้นที่เป็น LINE จะเป็นสีดำ ส่วนสีของฉนวนที่เป็นนิวทรัลจะเป็นสีเทา และสายกราวด์จะเป็นสีเขียว

ซึ่งสีของฉนวนสายไฟ สีดำ / สีเทา / สีเขียว เป็นมาตรฐานเดิม มอก.11-2531 ซึ่งตอนนี้สำนักงานมาตรฐานผลิตอุตสาหกรรม จึงได้กำหนดมาตรฐานใหม่ ซึ่งมาตรฐานใหม่นี้เป็นมาตรฐานสากล ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งผมจะเปรียบเทียบเป็นตารางฉนวนสายไฟมาตรฐานเก่าและมาตรฐานใหม่ ดังนี้

ตารางเปรียบเทียบมาตรฐานเก่าและมาตรฐานใหม่



ตารางเปรียบเทียบสีฉนวนสายไฟ 1 เฟส 220V  SINGLE PHASE


ระบบมาตรฐานใหม่ของฉนวนสายไฟ 1 เฟส 220V

มาตรฐานเดิมเส้นที่เป็น         L             จากสีดำ   จะเปลี่ยนเป็น         สีน้ำตาล

มาตรฐานเดิมเส้นที่เป็น         N            จากสีเทา   จะเปลี่ยนเป็น       สีฟ้า

มาตรฐานเดิมเส้นที่เป็น         G            จากสีเขียว   จะเปลี่ยนเป็น      สีเขียวแถบเหลือง

               บางท่านอาจจะ งง ซื้อสายไฟมาเดินเองที่บ้าน เปิด BOX  ออกมามีสายไฟเก่ากับสีสายไฟใหม่ สีจะไม่เหมือนกัน ถ้าไม่เข้าใจอาจจะต่อสายผิด จะทำให้เกิดไฟช๊อตได้  เกิดไฟฟ้าลัดวงจร  เกิดไฟไหม้ได้

ดังนั้นที่เป็นข่าวไฟไหม้บ้าน

ซึ่งตอนนี่ทางรัฐเอกก็ได้ออกกฎหมาย ช่างไฟฟ้าต้องผ่านการฝึกอบรมการเดินสายไฟภายในอาคาร และต้องมีใบเซอร์ ทั้งนี้เพื่อให้ช่างไฟฟ้าได้เข้าใจการเดินระบบสายไฟฟ้า สายนิวทรัลและสายดิน เพื่อป้องกันอัคคีภัยจากไฟฟ้าลัดวงจร

สีของฉนวนสายไฟแบบ 3 เฟส ก็มีมาตรฐานใหม่ด้วยซึ่งดูได้จากตารางการเปรียบเทียบมาตรฐานเก่าและใหม่ในข้างต้น ซึ่งบางบริษัทหน่วยงานต่างๆ บางแห่งยังเป็นสีของมาตรฐานเดิม ฉะนั้นในการเดินสายไฟหรือการต่อจั๊มจากจุกหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง  ควรทำการศึกษาระบบสายไฟก่อนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ อันเกิดจากการต่อสายไฟผิด ซึ่งทั้ง 3 เฟส ถ้าต่อผิด อันตรายจะสูงกว่าแบบ 1 เฟส ถึงขั้นระเบิดเป็นอันตรายได้

ระบบไฟฟ้าของเพลสซิ่งบูม  ที่มากับอุปกรณ์ไฟฟ้าก็จะเป็นแบบมาตรฐานใหม่ ในการไปติดตั้งชุด  POWER  SUPPLY  380 V บางหน่วยงานยังเป็นสีของสายไฟแบบเดิม ซึ่งผู้เขียนเคยได้ไปติดตั้งแล้วพบว่าสีของสายไฟ 3 เฟส จะเป็นแบบเก่า สีดำ / สีแดง / สีน้ำเงิน / สีเทา ส่วนสายกราวด์บางที่อาจจะมีหรือบางที่ไม่มี

               ฉะนั้นมนการต่อสายไฟในแต่ละครั้ง ควรตรวจเช็คโดยใช้ มัลติมิเตอร์ ตรวจเช็คให้ละเอียดก่อนการต่อแต่ละครั้ง ซี่งหน้างานมีช่างหลายคน  อาจจะใช้สีของสายไฟผิดประเภท เพื่อความปลอดภัย ควรเช็คให้มั่นใจและควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันที่เป็นฉนวนกันไฟด้วยครับ.