ทำไม?? ต้องใช้ไดโอดคร่อมตัวรีเลย์

29/10/2020 | 6814



Diode ทำหน้าที่อะไร เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ มี 2 ขั้วคือ P และขั้ว N ถูกออกแบบมาเพื่อควบคุมทิศทางการไหลของประจุไฟฟ้ายอมให้กระแสไฟฟ้าไหลไปในทิศทางเดียวกัน และป้องกันกระแสการไหลกลับทิศทางเดิม หากมองหลักการทำงานก็เหมือนกับ วาล์วน้ำทิศทางเดียวไม่ยอมให้น้ำไหลกลับ เราจึงนำไดโอดมาต่อใช้ในวงจรรีเลย์ เพื่อใช้ประโยชน์ดังนี้

>>> เมื่อเราจ่ายไฟเข้าขดลวดรีเลย์ ก็จะกลายเป็นสนามแม่เหล็ก และดูดให้หน้าสัมผัสเปลี่ยนสถานะ เช่นปิดหรือเปิด เพื่อต่อผ่านกระแสไฟในวงจรควบคุม

>>> เมื่อเราหยุดจ่ายไฟเข้าคอยล์ขดลวด สนามแม่เหล็กจะเกิดการยุบตัวอย่างรวดเร็วและสร้างแรงดันไฟฟ้าขึ้นแทน ทำให้มีกระแสไฟฟ้าย้อนกลับขึ้นมา มีขั้วตรงข้ามกับแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายเข้าคอยล์ เป็น แรงดันไฟฟ้าต้านกลับของขดลวด เรียกว่า Coil Back EMF และแรงดันที่เกิดขึ้นนี้ไปรวมกับแรงดันของแหล่งจ่ายทำให้แรงดันไฟฟ้าเพิ่มเป็น 2 เท่า ทำให้เกิดการอาร์คที่รุนแรงขณะหน้าสัมผัส (คอนแทค) เปิดวงจรออก ทำให้หน้าสัมผัสเสียหายเร็วขึ้น และอายุการใช้งานสั้นลงมาก


>>> เมื่อเรานำไดโอดมาต่อคร่อมที่ขดลวด (Coil) ของรีเลย์ไว้ เวลาเกิด Back EMF ขึ้นในช่วงหยุดจ่ายไฟ แรงดันต้านกลับที่เกิดขึ้นจะไหลวนผ่านตัวไดโอดแทน ทำให้ลดการอาร์คที่รุนแรงที่หน้าสัมผัสลดลง ทำให้หน้าสัมผัสชำรุดเสียหายลดลงมากและใช้งานได้นานมากขึ้น


>>> เมนบอร์ดรีเลย์ ของตู้คอนโทรล รถปั๊ม EVERDIGM จะมีไดโอดคร่อม รีเลย์ทุกตัวเพื่อป้องกันการเกิด Back EMF ป้องกันหน้าคอนแทค ชำรุดและช่วยยืดอายุหน้าคอนแทค ให้ใช้งานได้นานมากยิ่งขึ้น


เครดิตภาพ:FB ความรู้ วิชาชีพไฟฟ้า
>>บทความโดย: ฝ่ายขายปั๊มคอนกรีตและอะไหล่ >>PST GROUP