ปะเก็น หรือ Gasket

28/10/2020 | 2079

ปะเก็น หรือ Gasket


ในทุกๆอุปกรณ์ ในการป้องกันการรั่วซึมแล้ว จะมีชิ้นส่วนชิ้นหนึ่งเป็นตัวกันรั่วไม่เห็นของด้านในออกมาได้ หรือออกมาได้น้อยที่สุด นั้นคือ ปะเก็น หรือ Gasket โดยตามหลักการ ปะเก็น คือชิ้นส่วนที่ถูกออกแบบให้มีการยุบตัวได้ โดยจะติดกับเนื้อชิ้นงานที่มีการประกบกัน โดยเนื้อปะเก็นเมื่อถูกกดอัด จะทำให้เนื้อของปะเก็นราบไปกับวัสดุ ทำให้พื้นที่ผิวสัมผัสแนบสนิท จนทำให้ของด้านใน เช่น ของเหลว ก๊าซ ฝุ่นละอองต่างๆ เป็นต้น ไม่สามารถไหลออกมาได้ หรือกันรั่วได้นั้นเอง (ซึ่งตามทฤษฏีต้องบอกไหลออกมาในปริมาณที่น้อยที่สุด เช่น 1 หยดต่อเดือนเป็นต้น ซึ่งน้อยมากๆเลย)

ชนิดของปะเก็น

โดยชนิดของปะเก็นบนโลกใบนี้ต้องบอกว่ามีจำนวนมากมายจริงๆ ซึ่งจริงๆการออกแบบจะขึ้นอยู่กับรูปร่าง และชิ้นส่วนบางชิ้นก็ต้องสั่งจาก OEM (Original Equipment Manufacturer) อย่างเดียว เช่นพวกประเก็นฝาสูบ ประเก็นเสื้อปั้ม เป็นต้น บางแบบก็ตัดใช้งานได้ เช่นประเก็นตามหน้าแปลน ประเก็นยางต่างๆ ดังนั้นขอแบ่งชนิดการใช้งานโดยของแบ่งตามวัสดุ และประเภทใช้งาน


1. ปะเก็นแบบอโลหะ (Non-metallic gasket) ประเก็นชนิดนี้จะทำจากวัสดุที่ไม่ใช่โลหะ จะเป็นวัสดุจำพวก ยาง (Rubber) - (40.16) , Teflon (39.26) , Compress Non-asbestos Fiber (CNAF) - 39.26)


มีคุณสมบัติทนการกัดกร่อนได้ดี แต่ทนอุณหภูมิกับความดันสูงไม่ค่อยดีนัก และที่สำคัญราคาไม่แพง

2. ปะเก็นโลหะ (Metallic gasket) - (73.26)


ทำจากวัสดุที่เป็นโลหะที่มีความอ่อนตัว เมื่อถูกกดด้วยแรงบีบค่านึงจะมีการยุบตัว วัสดุจำพวก Soft iron, low carbon steel, monel, inconel จำพวก RTJ หรือ Ring gasket โดยคุณสมบัติมีความแข็งแรงสูง แต่ละวังเรื่องการกัดกร่อน ใช้ในอุณหภูมิสูง และความดันสูงได้ดี แต่ราคาค่อนข้างแรง

3. ปะเก็นแบบผสม (Composite gasket) - (84.84) จะเป็นปะเก็นที่มีการประกอบกันระหว่าง ปะเก็นโลหะ และอโลหะ ยกตัวอย่างเช่น ปะเก็นฝาสูบ, ปะเก็น Spiral would, ปะเก็น Metal jacket, ปะเก็น Kammprofile เป็นต้น ซึ่งพวกนี้จะถูกออกแบบตามการใช้งานต่างๆ เช่น ตามหน้าแปลน, ตามฝาถังภาชนะรับแรงดัน หรืออุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนต่างๆ

4. ปะเก็นเหลว (Liquid gasket) - (35.06),(39.10) เป็นประเก็นที่มีลักษณะเหมือนกาวยาง เมื่อถูกทาเข้าไปจะเข้าไปซีล และป้องกันรอยรั่วซึม จะนิยมใช้ในงานเครื่องจักรกล และท่อประปาต่างๆ แต่ต้องเก็บดีๆนะ หากเก็บไม่ดีจะแห้งและใช้งานไม่ได้




ขอบคุณที่มาของบทความ : https://naichangmashare.com/