คอนกรีตโฟม หรือ ซีเมนต์โฟม

09/12/2018 | 12261

คอนกรีตโฟม หรือ ซีเมนต์โฟม

คอนกรีตโฟม หรือ ซีเมนต์โฟม หรือ คอนกรีตมวลเบา ต่างประเทศอาจเรียกเป็นชื่ออื่น เช่น FoamcreteAircrete , Foamed concrete  หมายถึง วัสดุ ซีเมนต์ ผสมโฟม อยู่ในเนื้อไม่น้อยกว่า 20% ต่อปริมาตร โดยมีความหนาแน่นตั้งแต่ จาก 400-1,600 กิโลกรัม / ลูกบาศก์เมตรถึง 1600 กิโลกรัม / ลูกบาศก์เมตร 

ฟองอากาศของโฟม ช่วยให้เกิดการไหลตัวและสามารถเทลงในแบบหรือแม่พิมพ์ หรืออัดเข้าท่อ หรือช่องแคบๆได้เป็นอย่างดี โดยหลังจากกรอกเข้าแบบแล้วต้องใช้เวลานานถึง 24 ชั่วโมงเพื่อให้แข็งตัว ในการทำขึ้นรูป เป็นก้อน หรือเป็นรูปแบบตามแม่พิมพ์ จะใช้การอบไอน้ำหรือ Autoclave ด้วยอุณหภูมิ 70 ° C เพื่อเร่งกระบวนการ

คอนกรีต มีจุดแข็ง 7 วันประมาณ 1 - 10 N / mm² ทำให้มีคุณสมบัติ ทนไฟและเป็นฉนวนกันความร้อนและ เป็นกำแพงกันเสียงที่ดี

คอนกรีตโฟม ถูกประยุกต์มาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้

- บล็อกมวลเบาสำเร็จรูป หรือ ผนังมวลเบาสำเร็จรูปหลากหลายขนาด

- ผนังหรือรั้วสำเร็จรูป

- เป็นวัสดุกรอกเข้าแบบของ ผนังหล่อในที่ (เมื่อแห้งขึ้นรูปจึงแกะแบบ)

- เป็นวัสดุกรอกเติมเต็มท่อก๊าซที่ต้องการทิ้งท่อ

- เป็นวัสดุกรอกอุดช่องว่างต่างๆ เพื่อเติมเต็ม เช่น รอยต่อผนัง Precast

- เป็นวัสดุกรอกเติมเต็มในท่อร้อยสายไฟฟ้า

- เป็นวัสดุเทปรับพื้นที่ต้องการให้มีน้ำหนักเบา

-เป้นฉนวนกันความร้อนของผนังและหลังคา

·        ทำให้คอนกรีตโฟมสามารถผลิตได้ถึง 75 กก. / ตร.ม. [11] เอนไซม์ประกอบด้วยโปรตีนที่ใช้งานได้สูงของแหล่งกำเนิดเทคโนโลยีชีวภาพและไม่ได้ขึ้นอยู่กับโปรตีนไฮโดรไลซิสที่ไม่น่าสนใจ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาคอนกรีตได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในทางหลวงอาคารพาณิชย์อาคารฟื้นฟูภัยพิบัติโรงเรียนอพาร์ตเมนต์และที่อยู่อาศัยในประเทศเช่นเยอรมนีสหรัฐอเมริกาบราซิลสิงคโปร์อินเดียมาเลเซียคูเวตไนจีเรียบอตสวานา เม็กซิโก, อินโดนีเซีย, ลิเบีย, ซาอุดีอาระเบีย, แอลจีเรีย, อิรักและอียิปต์



คอนกรีตโฟม (Concrete Foam)

 

 

ส่วนผสมของ คอนกรีตโฟม ประกอบด้วย

1.    ซีเมนต์ หรืออาจผสมเถ้าลอย(Flyash)

2.    ทราย หรืออาจเป็นสูตรไม่ใส่ทรายก็ได้

3.    ไมตี้ คือ น้ำยาช่วยให้ซีเมนต์กระจายตัวดีขึ้น

4.    น้ำยาหน่วง คือน้ำยาที่ใช้ในการชะลอการเซ็ทตัวของคอนกรีตโฟม

5.    น้ำยาสร้างฟอง หรือ Foam agent ใช้ในการสร้างฟองโฟม

 

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการผลิตคอนกรีตโฟม

1.    เครื่องฉีดโฟม Foam Generator

                         

2.    ปั๊มลมขนาด 2 แรงม้าขึ้นไป


3.    เครื่องผสมปูน

4.    กรณีใช้ คอนกรีตโฟม ปริมาณมากสามารถทำงานกับ รถโม่จากปั๊มได้

                     

การกำหนดสูตรการผลิต คอนกรีตโฟม ทำดังนี้

หน่วยเอสไอของความหนาแน่นคือ กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (kg/m3) โดยมีสูตรในการคำนวณ คือ P=m/V

          P=ความหนาแน่น                หน่วย : กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร (kg/m3)

          m=น้ำหนักรวมของวัสดุ        หน่วย : กิโลกรัม (kg)

          V= ปริมาตรของวัสดุ            หน่วย : ลูกบาศก์เมตร (m3)

 

ตัวอย่างการคำนวณส่วนผสม คอนกรีตโฟม สูตรผสมทราย

วัสดุ

น้ำหนัก (กิโลกรัม)

น้ำหนัก (กิโลกรัม)

ปริมาตร    (ลิตร)

หมายเหตุ

ซีเมนต์

1.00

400.00

129

SG. ของ ซีเมนต์=3.1

ทราย

1.25

500.00

192

SG. ของทราย=2.6

น้ำ

0.525

210.00

210

 

ไมตี้

0.002

0.80

0.8

 

รวมปริมาตร

532.10

 

เพื่อให้ได้ คอนกรีตโฟม 1 ลูกบาศก์เมตร (m3)

ต้องเติมฟองโฟม

467.90 ลิตร

ต้องใช้น้ำยาสร้างฟอง กี่ลิตร ?

อัตราการขยายตัวของ Foam Agent 23:1

ต้องใช้น้ำยาสร้างฟอง Foam Agent =467.90ลิตร /23=20.3 ลิตร

20.3 ลิตร

ความหนาแน่น (ขณะเปียก)=400+500+210+0.8+20.3=

1,131 kg/m3

ความหนาแน่น (ขณะแห้ง)=Cementx1.25+ทราย

=(400x1.25)+500=1,000 kg/m3

น้ำที่ใส่ไปในคอนกรีตจะอยู่ถาวรในคอนกรีตประมาณ 25%ของปริมาตรคอนกรีต นอกนั้นจะระเหยออกไป

     

ตัวอย่างสูตร คอนกรีตโฟม สูตรผสมทราย

วัสดุ/น้ำหนักแห้ง กก.ต่อ ลูกบาศก์เมตร

ปูนซีเมนต์(กก.)

ทราย    (กก.)

น้ำ (กก.)

ไมตี้(กก.)

น้ำยาสร้างฟองโฟม(ลิตร)

น้ำหนักเปียก(กก./ลูกบาศก์เมตร)

900

320

500

192

0.64

22.3

1,035

1,000

320

600

192

0.64

20.6

1,133

1,200

320

800

192

0.64

17.2

1,330

900

340

475

195

0.68

22.3

1,033

1,000

340

575

195

0.68

20.6

1,131

1,200

340

775

195

0.68

17.2

1,328

900

360

450

200

0.72

22.2

1,033

1,000

360

550

200

0.72

20.5

1,131

1,200

360

750

200

0.72

17.2

1,328

900

400

400

210

0.80

22.0

1,033

1,000

400

500

210

0.80

20.3

1,131

1,200

400

700

210

0.80

17.0

1,328

 

ขอขอบคุณ : ข้อมูลและภาพสวยๆ จาก EABASSOC Foaming Agent และ Siriwan Plastic Co.LTD