เครื่องมือช่างที่ควรมีไว้ประจำบ้าน

30/07/2018 | 6521

เครื่องมือช่างที่ควรมีไว้ประจำบ้าน ในการดูแลรักษาบ้านนั้นนอกจากจะทำให้เราอยู่อาศัยในบ้านไปได้นาน ๆ อย่างมีความสุข แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องเตรียมพร้อมเสมอคืออุปกรณ์การซ่อมที่ต้องเตรียมไว้สำหรับเกิดเหตุฉุกเฉิน เวลาที่เกิดปัญหาที่ต้องซ่อมภายในบ้านจะได้ซ่อมได้อย่างทันเวลาซึ่งจะทำให้ทุกท่านสามารถเตรียมอุปกรณ์สำหรับซ่อมบ้านได้อย่างพอเหมาะที่ควรจะมีติดบ้านไว้ที่สำคัญควรจะมีอะไรบ้าง ดังต่อไปนี้

 ค้อน
เอาไว้ใช้สำหรับ ตอก ทุกส่วนที่คุณต้องการตกแต่งเพิ่มเติม อย่างเช่น ตอกตะปูสำหรับแขวนรูป หรือยึดสิ่งของเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังใช้สำหรับ ทุบ และทำลาย ในส่วนที่คุณไม่ต้องการออกอีกด้วย เรียกว่าต้องมีเลยล่ะ!

ไขควง ธรรมดาและไขควงเช็คไฟ
สำหรับไขหรือคลายนอตเพื่อแยกชิ้นส่วนของที่คุณต้องการแก้ไข เพื่อให้การซ่อมแซมเป็นไปได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้คุณควรซื้อไขควงเก็บไว้ทั้งสองแบบ คือ ไขควงแบบ 2 แฉก และ 4 แฉก เพื่อให้การซ่อมแซมเป็นไปอย่างรวดเร็ว ง่ายดายเและสะดวกมากขึ้น

คีม
เป็นเสมือนมืออีกหนึ่งมือที่เอาไว้สำหรับจับ หนีบ อุปกรณ์หรือข้าวของเครื่องใช้ ที่หยิบจับไม่ถนัด อีกทั้งยังใช้สำหรับอัด บีบ เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เข้ากันได้อีกด้วย

ประแจ
เครื่องมือสำหรับขันเพื่อคลายเกลียวตัวนอต หรือล็อคตัวนอตให้แน่นขึ้น ทั้งนี้ประแจมีหลายขนาดหลายชนิด เพื่อความสะดวกของคุณผู้หญิงลองเลือกประแจเลื่อนมาใช้ก็สะดวกดีนะคะ

มีดคัตเตอร์
เครื่องมือสำหรับตัด กรีด แยกส่วน สิ่งของชิ้นเล็ก ๆ หรือกระดาษ ในกรณีที่ต้องการเส้นขอบแบบเนี้ยบ ๆ หรือใช้แทนในส่วนที่กรรไกรไม่สามารถทำได้ ถ้ามีติดบ้านไว้จะได้หยิบใช้ได้ทันใจ แถมยังนำมาใช้สำหรับงานฝีมือหรืออื่น ๆ ได้อีกหลายอย่างด้วย

เครื่องมือตักกระจก

ไม้ดูดส้วม เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมาก ๆ สำหรับจัดการสิ่งสกปรกที่อุดตันในท่อน้ำ ถ้าหากต้องการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ก็เพียงแค่ปั๊มไม้ดูดส้วมลงไปในท่อ ก็ไม่ต้องรอเรียกช่างให้เสียเวลาแล้วจ้า

ไฟฉาย เอาไว้ใช้ในกรณีที่คุณต้องการซ่อมแซม ต่อเติม หรือทำความสะอาด ในมุมอับ หรือซอกมุมต่าง ๆ ที่แสงจากหลอดไฟส่องไม่ถึง เช่น หลังตู้ ใต้โซฟา ใต้เตียง หรือแม้กระทั่งใช้ในยามไฟดับก็ได้ด้วยเหมือนกันนะ

สว่านไฟฟ้าและสว่านไร้สาย เครื่องมือจะทำให้งานเจาะรู หรือไขนอตของคุณง่ายขึ้น โดยเฉพาะบนเพดาน ผนัง และเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ซึ่งกำลังไฟฟ้าของสว่านที่เหมาะสมคือ 14.4 โวลต์

เครื่องเจียรมือถือ ใช้เจียรบางๆ งานโลหะ จะเป็นใบบางๆ จะมีอย่างหนา กับ อย่างบาง ทั่วไปก็จะใช้ใบอย่างหนาเครื่องมือชิ้นนี้ จะทำงานที่รอบสูงมาก เป็นหมื่นรอบต่อนาที จึงค่อนข้างอันตราย เวลาใช้งานจึงต้องมีสมาธิสูงหน่อย

ระดับน้ำ(เครื่องวัดระดับความเอียง) ใช้สำหรับวัดความลาดเอียงของพื้นและเช็กความสมดุลของสิ่งของ ในกรณีที่คุณต้องการติดตั้งอุปกรณ์ หรือแขวนของตกแต่งบ้าน วิธีการใช้ก็คือนำไปตั้งบนตู้ หรือสิ่งของที่คุณนำไปติดตั้ง แล้วเช็กระดับน้ำในหลอด หากพบว่าระดับน้ำอยู่กึ่งกลาง หรือตรงกับเส้นสีแดง แสดงว่าใช้ได้แล้วล่ะ แต่ถ้ายังไม่ตรงล่ะก็ขยับให้ตรงตามเครื่องวัดได้เลย

ตลับเมตร สายวัดที่เอาไว้ใช้สำหรับวัดความสูง ความยาว หรือกำหนดระยะสิ่งของตามที่คุณต้องการ ตลับเมตรที่คุณซื้อควรมีระยะความยาวอย่างน้อย 16 ฟุต ซึ่งปัจจุบันมีตลับเมตรลายน่ารัก ๆ สำหรับคุณผู้หญิงให้เลือกอยู่เต็มไปหมดเลยล่ะ เลื่อยไม้ และเลื่อยตัดเหล็ก ใช้ในกรณีที่คุณต้องการตัด หรือสร้างชิ้นงานไม้ เอาไว้ใช้ในพื้นที่ที่คุณต้องการ แต่ถ้างบประมาณไม่ใช่ปัญหาของคุณ จะซื้อเลื่อยไฟฟ้าตัวเล็ก ๆ เพื่อไม่ต้องออกแรงมาก ก็ไม่ว่ากันนะคะ

หัวแร้งบัดกรี เป็นเครื่องมือสำหรับเชื่อมต่อโลหะที่ต้องการเข้าด้วยกัน โดยใช้ตะกั่วบัดกรี ซึ่งเป็นโลหะผสมระหว่างดีบุกและตะกั่ว เป็นตัวเชื่อมประสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้มีการเชื่อมต่อกันทางไฟฟ้า ยึดติดอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีความมั่นคงแข็งแรง และสามารถถอดถอน อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในภายหลังได้

บันไดอลูมิเนียม ใช้สำหรับหยิบจับของสูงไม่มากนัก จะปีนป่ายขึ้นไปซ่อมแซมทำความสะอาดบ้านเพื่อช่วยทุ่นแรงให้เราใช้งานได้สะดวกขึ้น

แว่นตานิรภัย ช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น จากวัตถุ สารเคมีกระเด็นเข้าตา ใบหน้า หรือป้องกันรังสีที่จะทำลายดวงตา

ถุงมือผ้า ป้องกันการขีดข่วนของมีคม และรังสี เป็นถุงมือที่ทำจากผ้า หนัง ถุงมือตาข่ายลวดทำจากลวด ซึ่งถักเป็นถุงมือ

ปืนยางกาว         กาหยดน้ำมัน         น้ำมันเอนกประสงค์
สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องอุปกรณ์ช่างเลย ไม่ต้องห่วงเพราะสมัยนี้มีการขายเป็นกล่องที่เป็นอุปกรณ์สำหรับช่างสามารถเลือกซื้อได้ตามร้านเครื่องมือช่างทั่วๆไปไม่ต้องตามซื้อทีละชิ้นให้ยุ่งยากแล้ว ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.3mbuildingfilm.com/

ขอบคุณข้อมูลจาก วิชาการ.คอม


หมายเหตุ งานเขียนชิ้นนี้ ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทางปัญญา โดยลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน ที่ให้เกียรตินำเผยแพร่ผ่าน วิชาการ.คอม เรามีความยินดีและอนุญาตให้ทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเท่านั้น กรุณาให้เกียรติผู้เขียน โดยอ้างชื่อผู้เขียนและ วิชาการ.คอม (www.vcharkarn.com) ทุกครั้งที่ทำการเผยแพร่ต่อ ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อในสื่อที่เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจก่อนได้รับอนุญาต ขอขอบคุณที่ร่วมกันช่วยสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญา